การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น

“มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก”
(A World-Leading Research and Development University)
“ค่านิยม” และ “วัฒนธรรมองค์กร” ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ SMART
S คิด อุทิศเพื่อชุมชน (Social Devotion with Creation)
M จัดการบนข้อมูลจริง (Management by Fact)
A ตอบสนองสิ่งคาดหวัง (Achieving Customer Excellent)
R รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักธรรมาภิบาล (Responsibility & Good governance)
T สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology & Innovation focus)
“คิด อุทิศเพื่อชุมชน จัดการบนข้อมูลจริง ตอบสนองสิ่งคาดหวัง รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักธรรมาภิบาล สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
“ค่านิยม” (Values) ซึ่งถือเป็นหลักการและพฤติกรรมชี้นำสำคัญ สื่อถึงความคาดหวังของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบุคลากร ให้เป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน การปฏิบัติต่อประชาชนและสังคม การพัฒนาตนเอง ซึ่งสะท้อนและหนุนเสริมโดยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ (Culture) ของมหาวิทยาลัย ค่านิยมที่กำหนดนี้จะช่วยสนับสนุนและชี้นำการตัดสินใจของบุคลากรทุกคน และช่วยให้องค์กรบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยค่านิยมมีความสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย
พันธกิจ (Mission)
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาชั้นสูง ที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
นโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้วยวิสัยทัศน์ของสภามหาวิทยาลัยที่มุ่งการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การเป็น มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก (A World-Leading Research and Development University) ที่ยังคงการเป็นสถานบันที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยมีเครื่องวัดความสำเร็จของการได้รับการยอมรับในระดับโลกผ่านการจัดอันดับโลกของสถาบันจัดอันดับต่าง ๆ พร้อมทั้งได้กำหนดเป้าหมาย นโยบายและพันธกิจที่สำคัญ 4 ด้าน คือ 1) ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย (Academic Excellence and Innovation) 2) ด้านการบูรณาการหลักการ ESG กับการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart Campus and ESG Integration) 3) ด้านการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเหมาะสมเพื่อการเติบโตและมีความยั่งยืน (Optimization of University Resources for Growth and Sustainability) และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชนผ่านวัฒนธรรม(Societal Contribution via Cultural Involvement and Community Integration) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นโยบาย และพันธกิจดังกล่าว มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำเป็นต้องมี การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ (Transformation) ทั้งด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และด้านการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้มหาวิทยาลัยยังคงมีความก้าวหน้าและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนในท่ามกลางวิกฤติอุดมศึกษาไทยที่เกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive technologies) การเปลี่ยนแปลด้านภูมิรัฐศาสตร์ และอัตราการเกิดของเด็กไทยที่ลดลง จึงได้กำหนดทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยใน 4 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย 11 ยุทธศาสตร์ 46 กลยุทธ์ 127 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
1.ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย (Academic Excellence and Innovation) มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้ 1) การปรับเปลี่ยนทางด้านการศึกษา (Education Transformation) โดยพัฒนาหลักสูตรใหม่ (New S curve curriculums) ในรูปแบบการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ (Learning paradigm) ยกระดับการเรียนรู้ของนักศึกษา และความพร้อมสำหรับอนาคตผ่านการบูรณาการด้วยเทคโนโลยี AI เน้นจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning how to learn) และสร้างให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning throughout life) การจัดการศึกษาเพื่อประชาชนทุกอายุ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่เน้นการสอนเป็นเน้นการเรียนรู้ (Teaching paradigm to learning paradigm) ปรับเปลี่ยนจากสอนให้รู้เป็นสอนให้คิด เพื่อให้บัณฑิตสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคม มีอัตลักษณ์และทักษะที่พร้อมต่อการทำงานในระดับองค์กรนานาชาติ
2) ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย (Research Transformation) โดยปรับเปลี่ยนจากการทำวิจัยตามความสนใจของนักวิจัย (Supply side) เป็นการทำวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือตามปัญหาของประเทศ (Demand side) ปรับเปลี่ยนจากการทำวิจัยที่เป็นโครงการเดี่ยว (Single project) เป็นการทำวิจัยเป็นทีม สร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบ (Impact) สูงต่อสังคม สร้างระบบนิเวศของการวิจัย (Research Ecosystem) เพื่อรองรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการทำวิจัยให้ไกลกว่าการตีพิมพ์สู่การนำไปใช้จริง เกิดผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม และสร้างระบบนิเวศสำหรับการสร้างนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)
3) การนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ (Internationalization) โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิด Global learners, Global alumni, Global staff และสมรรถนะสากล (Global competencies) ของนักศึกษา สนับสนุนและส่งเสริมเครือข่ายคุณภาพระดับโลก และระบบนิเวศ รวมทั้งความร่วมมือกับคู่ความร่วมมือระดับโลก (Global quality network & ecosystem) การสร้างความร่วมมือกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) เพื่อรองรับอีสานใหม่ (New Isan) สนับสนุนกลยุทธ์ เพื่อการจัดอันดับ World University Ranking ที่สูงขึ้น และสร้างความเป็นนานาชาติทั้งด้านอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และสภาพแวดล้อม (International environment) และส่งเสริมการรับรู้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในระดับโลก (Visibility on global stage) 4) สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นที่น่าทำงาน (Best Place to Work) โดยมีเครื่องมือพร้อมสำหรับการทำงานในทุกด้าน (Well equipped) สร้างสภาพแวดล้อมที่มีสุขอนามัย และความปลอดภัยสำหรับการทำงาน (Good occupational health and safety) และสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย (Consultations and Networking)
2.ด้านการบูรณาการหลักการ ESG กับการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart Campus and ESG Integration) มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
5) สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นที่น่าอยู่ (Great Place to Live) โดยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green university) และมุ่งสู่มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) สร้างสุนทรียภาพให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย (Aesthetic Environment) บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainable Environmental conservation and protection) และสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (KKU Smart city)
6) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีและการชี้นำสังคม (Beyond Good Governance) มุ่งเน้นป้องปรามการทุจริต และการทำผิดจริยธรรม (Legal and Ethical compliances) ร่วมกัน เกิดความร่วมมือกันภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย และสื่อสารภาพลักษณ์ และความเชื่อถือของมหาวิทยาลัยแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน (Promote Trustworthiness from community and Role model) เพื่อตอบสนองและชี้นำสังคม (Social Advocacy)
3.ด้านการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเหมาะสมเพื่อการเติบโตและมีความยั่งยืน (Optimization of University Resources for Growth and Sustainability) มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
7) ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management Transformation) โดยสร้างระบบบริหารจัดการรองรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Talent management system) การสร้างค่านิยมสำหรับมุ่งเน้นความสำเร็จ (Foster an Achievement-Oriented Culture) การสร้างความผูกพันและการยกระดับความสามารถของบุคลากร และการสร้างระบบบริหารบุคลากรที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว (Agile HR systems)
8) การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสมรรถนะสูง (High Performing University) โดยกางระบบบริหารจัดการแนวใหม่ (Reimagine work process) มุ่งสู่การเป็น High performing และใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร (ERP) และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ร่วมกับการทบทวนกระบวนการ ใหม่ทั้งระบบ (Reimagine work process) ที่ครอบคลุมระบบเงินเดือน สวัสดิการ การเงินการคลัง การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเป็นระบบนิเวศสำหรับผู้มีศักยภาพสูง (Ecosystem for Talent) ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA for all) บริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืน (Efficiently asset management โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) และโครงการขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินความเสี่ยง (Intelligent Risk Projects: Flagship Projects) การเพิ่มรายได้จากการวิจัย การบริการวิชาการ และการบริการวิชาชีพ และการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ IP ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปสู่เชิงพาณิชย์
9) การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University) โดยการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างความรู้ด้าน AI ให้กับบุคลากร และเพิ่มขีดความสามารถเพื่อพัฒนาวิธีการสอน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สร้างระบบนิเวศเพื่อการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล การพัฒนาระบบการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและปลอดภัยในมหาวิทยาลัย
4.ด้านการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชนผ่านวัฒนธรรม(Societal Contribution via Cultural Involvement and Community Integration) มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
10) การบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contribution) โดยสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนและสังคม (Community Support) โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ สังคม ส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ สร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคม (Sustainable Development Goals : SDGs) และการสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์และอนุรักษ์วัฒนธรรม (Creative economy and Cultural conservation)
11) เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (Collaboration & Coordination for Development) โดยมีโครงการความร่วมมือของหลายส่วนงาน (Creative Coordinating Projects) และพัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม (To develop students to possess virtues, ethics, environmental consciousness, and social responsibility) เป็นต้น
การบรรลุเป้าหมาย นโยบาย และพันธกิจ ดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2569 – 2572) เพื่อให้มหาวิทยาลัยยังคงมีความก้าวหน้าและพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนในท่ามกลางวิกฤตอุดมศึกษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยดังที่กล่าวมา การกำหนดกลยุทธ์ทุกด้านได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยในทุกระดับและทุกด้าน ที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย โดยเป็นแผน การปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัย (KKU Transformation) ที่ต่อเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์การบริหารเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์เหล่านี้ต้องมีการกำกับ ติดตาม และทบทวนอย่างใกล้ชิด พร้อมรับการปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ได้ตลอดเวลา