ตามที่มีการจัดกิจกรรม Kick-off “มหกรรมการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” โดย สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์มะเร็งท่อน้ำดี โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) และภาคีเครือข่าย ทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมระดับประเทศที่มีหลายภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาควิชาการเข้าร่วม วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น (COLA) ได้มีบทบาทร่วมในงานครั้งนี้ทั้งในด้านการเป็นเจ้าภาพสถานที่จัดงาน การบูรณาการพันธกิจด้านวิจัย การบริการวิชาการ และการสื่อสารเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเสนอผลงานจากโครงการวิจัยเชิงกลยุทธ์ “การนำหมอลำมาเป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักรู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” โดย ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ในเวทีดังกล่าว



โครงการวิจัยฯ “การนำหมอลำมาเป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักรู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ด้วยการนำ “หมอลำ” ศิลปะพื้นบ้านที่คนอีสานรักและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย มาใช้เป็น เครื่องมือสื่อสารสุขภาวะ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่าน “ความสนุกและอารมณ์ร่วม” อย่างทรงพลัง เพราะหมอลำในวันนี้ไม่ใช่แค่เวทีบันเทิง แต่คือ พื้นที่ให้ความรู้ สื่อกลางเพื่อสื่อสารนโยบายสุขภาพ และ “พลังขับเคลื่อนทางสังคม” ที่ยิ่งใหญ่ หมอลำยุคใหม่ยังขยายพลังไปถึงโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิด “หมอลำฟีเวอร์” สร้างโอกาสการเข้าถึงคนอีสานอย่างกว้างขวาง ทำให้เสียงแคนและกลอนลำกลายเป็นเสียงเตือนภัยสุขภาพ การป้องกันพยาธิใบไม้ตับจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของชาวบ้านอีกต่อไป การมีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ สะท้อนบทบาทของวิทยาลัยฯ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางสังคม บูรณาการศาสตร์แห่งการบริหารและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
















🟠 หมอลำสื่อสาร รณรงค์วิถีอีสาน ต้านภัยมะเร็งท่อน้ำดี!
อีสานยังคงเผชิญวิกฤตสุขภาพจากพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคปลาดิบ โดยเฉพาะปลาเกล็ดที่มักนำมาทำเมนูยอดนิยมอย่าง ลาบปลาดิบใส่มดแดง นอกจากนี้ ปลาแปรรูปอย่างปลาส้ม ปลาจ่อม หรือปลาร้า ก็เป็นอาหารหลักที่ชาวอีสานบริโภคเกือบทุกมื้อ . แม้ชาวบ้านจะทราบดีถึงความเสี่ยง แต่ด้วยความที่การกินปลาดิบเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen X และ Baby Boomer ทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องยาก . เพื่อแก้ปัญหานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงหันมาใช้สื่อพื้นบ้านอย่างหมอลำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งท่อน้ำดี หวังเข้าถึงใจชาวบ้านและกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างยั่งยืน (ข้อมูลข่าวโดย: Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคอีสาน)
อีสานยังคงเผชิญวิกฤตสุขภาพจากพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคปลาดิบ โดยเฉพาะปลาเกล็ดที่มักนำมาทำเมนูยอดนิยมอย่าง ลาบปลาดิบใส่มดแดง นอกจากนี้ ปลาแปรรูปอย่างปลาส้ม ปลาจ่อม หรือปลาร้า ก็เป็นอาหารหลักที่ชาวอีสานบริโภคเกือบทุกมื้อ . แม้ชาวบ้านจะทราบดีถึงความเสี่ยง แต่ด้วยความที่การกินปลาดิบเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen X และ Baby Boomer ทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องยาก . เพื่อแก้ปัญหานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงหันมาใช้สื่อพื้นบ้านอย่างหมอลำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งท่อน้ำดี หวังเข้าถึงใจชาวบ้านและกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างยั่งยืน (ข้อมูลข่าวโดย: Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคอีสาน)
https://www.facebook.com/share/v/16tUXXyCgq/