AI

มข.เปิดคลินิก AI ตัวช่วยนักวิจัย-เสริมทักษะอาชีพนักศึกษายุคดิจิทัล

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัวคลินิก AI แนะนำการใช้เครื่องมือ Generative AI และชุดคำสั่งสำหรับนักวิจัย ทั้ง SciSpace, ChatPDF, ChatGPT หรือ Alisa ตัวช่วยนักวิจัย-เสริมทักษะอาชีพนักศึกษายุคดิจิทัล ไม่ให้ถูก Disruption ด้วย AI แม้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเกิดขึ้นมานาน แต่กระแสของเครื่องมือ Generative AI อย่าง Chat GPT ที่เปิดตัวเพียง 5 วัน ก็มีผู้ใช้งานแตะ 1 ล้านคน สะท้อนถึงความนิยมการใช้งาน AI ในยุคปัจจุบันได้อย่างชัดเจน ไม่นับเครื่องมืออื่น ๆ ที่บริษัทเทคโนโลยีต่างพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นสงคราม AI ที่ร้อนแรงและสะเทือนไปทุกวงการ รศ.ดร.กานดา สายแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักหอสมุด กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ก้าวหน้ามากขึ้นในช่วง ปีหลังนี้เนื่องมาจาก พลังคำนวณที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นทุกวินาที ผนวกกับความก้าวหน้าในอัลกอริทึม การวิจัยแบบเปิดเผยและร่วมมือกัน การลงทุนและความสนใจจากอุตสาหกรรม และความก้าวหน้าเทคโนโลยีในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม […]

มข.เปิดคลินิก AI ตัวช่วยนักวิจัย-เสริมทักษะอาชีพนักศึกษายุคดิจิทัล Read More »

มข. ผุดหลักสูตรใหม่ ! สร้าง AI หนุนการตลาดในโลกออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกกำลังมุ่งสู่การค้าแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ  ปัจจุบันธุรกิจขนาดเล็กหรือบริษัทใหญ่ต่างขายสินค้าผ่านแพตฟอร์มออนไลน์ทั้งสิ้น  ฉะนั้นเทคโนโลยี AI จึงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำการตลาดและเพิ่มยอดขาย ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค จึงไม่แปลกใจเลยที่แม้แต่คิดถึงสินค้าใด สินค้านั้นก็จะปรากฏบนหน้าจอของท่านทันที   นั้นหมายความว่า AI แฝงอยู่ในทุกกิจกรรม ทุกพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า บริษัทที่มีเทคโนโลยี AI ทางการตลาดที่เหนือชั้น ย่อมกำชัยเหนือกว่าคู่แข่งในโลกดิจิทัลเสมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดย วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ นางสาวณัฐนรินทร์ ผลประพฤติ นักศึกษาชั้นปีที่ 1   สาขาวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์  วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เจ้าของโครงงาน ปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาระบบการแนะนำสินค้าของบริษัท  เผยว่า จุดเริ่มต้นของการเข้ามาเรียนหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์เกิดจากความคิดที่ว่าจะนำความรู้จากศาสตร์ด้านนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจครอบครัว และสามารถนำไปต่อยอดในด้านต่างๆ ที่ตนสนใจหรือถนัด โดยหลักสูตรแบ่งออกเป็น ภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ “สำหรับโปรเจคคิดค้นแอปพลิเคชั่นแนะนำสินค้า ได้แรงบันดาลใจจากการต่อยอดธุรกิจส่วนตัว โดยใช้ธุรกิจครอบครัวเป็นโมเดลการพัฒนา เช่น หากลูกค้าสั่งหมึกพิมพ์ ตรายาง เครื่องปริ้นท์ งานเอกสาร ฯ  AI จะช่วยจัดอัลกอริทึมจากประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้า ซึ่งจะสามารถแนะนำสินค้าที่ใกล้เคียง ให้ลูกค้าได้  นอกจากนี้ในการศึกษาต่อในชั้นปริญญาโท ได้เน้นการศึกษาพัฒนาโครงสร้างเชิงลึก คือ  Broad – based Learning การเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย เพื่อเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถทำได้รวดเร็วกว่าตัวเดิม และนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์

มข. ผุดหลักสูตรใหม่ ! สร้าง AI หนุนการตลาดในโลกออนไลน์ Read More »

นักศึกษา ‘มข.’ ใช้ ‘AI’ นับจำนวนคน ดูความหนาแน่น-ลดเสี่ยง ‘เบียดกันตาย’

นักศึกษา ‘มข.’ ใช้ ‘AI’ นับจำนวนคน ดูความหนาแน่น-ลดเสี่ยง ‘เบียดกันตาย’ Read More »

นศ.มข. ออกแบบระบบตรวจจับใบหน้าคนร้ายด้วย AI ในยุคโควิด – 19 ระบุตัวตนได้แม้จะใส่หน้ากากบังใบหน้าก็ตาม

มากกว่า 3 ปี ที่ประชากรโลกต่างเผชิญกับวิกฤติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลายภาคส่วนต้องปรับตัวรวมถึงวงการรักษาความปลอดภัย ตำรวจ  ที่ต้องปรับวิธีการสืบเสาะหาผู้ร้าย ในขณะที่ผู้ร้ายมักแฝงตัวร่วมกับประชาชนทั่วไปโดยการใส่หน้ากากอนามัยทุกเมื่อ นับเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจติดตามจับกุมตัวผู้ร้ายอย่างยากลำบาก นักศึกษาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงจัดทำโครงการ Face detection and identification System หรือ การตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า ขึ้น เพื่อใช้ความรู้ความสามารถทางด้าน AI ให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความต้องการทางเทคโนโลยีและสถานการณ์โลก นายพริษฐ์ จงหาญ  นักศึกษาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ เจ้าของโครงการ Face detection and identification System หรือ การตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า และเจ้าของรางวัล Tech4Good gold award (turning green project) ตัวแทนโครงการระดับเอเชียแข่งขัน AI ระดับโลก  เผยว่า โครงการนี้ร่วมกับเพื่อนทำอีก 2 คน ได้แก่ นายภูมิภัทร จันทร์ใบ และนายปัณณธร ผาใต้ โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสะท้อนว่าสามารถตรวจจับใบหน้าคนร้ายอย่างยากลำบากในช่วงสถานการณ์โควิดเพราะคนร้ายส่วนใหญ่แฝงตัวใส่หน้ากากอนามัยปิดบังใบหน้าเสมอ ทำให้ AI ที่ใช้จับภาพคนร้ายชนิดเต็มใบหน้าเริ่มใช้ไม่ได้ผล  ตนและเพื่อนอีก 2 คน ประกอบด้วย ภูมิภัทร

นศ.มข. ออกแบบระบบตรวจจับใบหน้าคนร้ายด้วย AI ในยุคโควิด – 19 ระบุตัวตนได้แม้จะใส่หน้ากากบังใบหน้าก็ตาม Read More »

ครั้งแรกในไทย ! วิทยาลัยคอม ฯ มข. เปิดหลักสูตรใหม่ AI ผนวก 4 สหสาขาวิชา

แนวโน้มสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence ( AI )  ถือเป็นศาสตร์เทคโนโลยีหนึ่งที่อยู่ในวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ computer science ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก  มีการบูรณาการในส่วนของเทคโนโลยีไปสู่ทุกศาสตร์   ทั้งในเรื่องระบบการตรวจสอบอัตโนมัติ  การประมวลผลข้อมูล  และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับยุคในปัจจุบันที่มีปริมาณข้อมูลมหาศาล  ดังนั้น AI จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการช่วยให้กระบวนการต่างๆ ในการดำรงชีวิตของคนยุคใหม่ให้สะดวกสมบูรณ์ยิ่งขึ้น           รศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา  คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ (College of Computing: CP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า ศาสตร์ AI ไม่เพียงประมวลผลในคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ต่อไปเราจะไปสร้างอุปกรณ์ประมวลผล และใส่อัลกอริทึม หรือ คำสั่งหรือเงื่อนไขแบบทีละขั้นตอนที่จะทำให้หุ่นยนต์นั้นทำสิ่งที่เรากำหนดให้สมบูรณ์  ในอนาคตอาจจะเห็น Digital Human ( คนเทียม ) ที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์หรือสิ่งรอบตัวเหมือนกับคน ก็คือเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ) เช่นในวงการของประชาสัมพันธ์มีนักข่าวที่เป็น  Digital Human ซึ่งจะมีการอ่านข่าวและการสื่อสารทางด้านร่างกาย ผ่านการแสดงสีหน้า แววตา ได้เหมือนกับมนุษย์ เพราะเรามีอัลกอริทึมในการที่จะรู้จักและรู้จำภาษากายของมนุษย์ ในส่วนของโครงสร้างของคนเทียมประกอบไปด้วยกล้องเปรียบเสมือนดวงตา ทำหน้าที่แปลงจากภาพที่ได้รับเข้ามาเป็นข้อมูล และซอฟต์แวร์  AI ที่เปรียบเสมือนสมองกลทำหน้าที่ประมวลผลว่าหน้าตาแบบนี้แสดงอารมณ์แบบใด ในส่วนนี้เราเรียกว่า

ครั้งแรกในไทย ! วิทยาลัยคอม ฯ มข. เปิดหลักสูตรใหม่ AI ผนวก 4 สหสาขาวิชา Read More »

มข. ต้อนรับ มทร. หารือ พัฒนาการศึกษา ด้วย AI

มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ. นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การต้อนรับ นพ. ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พร้อมคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อปรึกษาหารือเรื่องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  ณ ห้องประชุมอธิการบดีชั้น 6  อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 การเข้าพบกันระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องด้วยทางสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มีนโยบายการจัดตั้งศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โดยอ้างอิงรูปแบบการดำเนินการของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (CMU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ในด้านการพัฒนาเชิงโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับงานวิจัยแห่งชาติด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ขับเคลื่อนด้วยโซลูชันซุปเปอร์คอมพิวเตอร์พลังการประมวลผลขั้นสูง เพื่อเติมขีดความสามารถให้กับแพลตฟอร์มข้อมูลแห่งชาติเชิงปัญญาประดิษฐ์ ได้มีการประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติที่ทรงประสิทธิภาพ ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเป็นที่รู้จักในฐานะสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ชั้นนำของประเทศ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้การตอบรับการเข้าร่วมหารือความมือกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเป็นอย่างดี โดยผู้เข้าร่วมหารือในครั้งนี้ ประกอบด้วย รศ. นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ รศ. ดร. รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

มข. ต้อนรับ มทร. หารือ พัฒนาการศึกษา ด้วย AI Read More »

Thailand A.I. University Consortium ผลึกกำลังสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

พัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ก้าวล้ำอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยปัญญาประดิษฐ์ไทยทั้ง 6 แห่งคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัย CMKL มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ผนึกกำลังสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมจากเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยได้มีการร่วมลงนามข้อตกลงในวันที่ 3 ธันวาคม 2563 และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับ NVIDIA A.I. Technology Centre ที่มีเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกโดยของบริษัท NVIDIA  ผู้ผลิต GPU machine กลไกสำคัญของหน่วยประมวลผลความเร็วสูงทางด้านปัญญาประดิษฐ์ของโลก โดยมีเป้าหมายทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสนับสนุนงานวิชาการเชิงลึก ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยไทยและต่างประเทศให้พัฒนางานวิจัยสู่งานนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง และร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างคนและสร้างเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อน เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้สนับสนุนและผลักดันให้ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยปัญญาประดิษฐ์ไทยประสานความร่วมมือกันในการสร้างนวัตกรรมภายใต้งานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริงโดยได้ให้งบประมาณสนับสนุนในปี 2564 กิจกรรมความร่วมมือครั้งนี้มีอธิการบดีและผู้แทนอธิการบดีเข้าร่วมลงนามโดยมี ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. และ รศ.ดร. สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วย บพข. ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการนี้

Thailand A.I. University Consortium ผลึกกำลังสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย Read More »

เลื่อนไปด้านบน