เกษตรกร

มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง”

   มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสำนักบริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดโครงการ “สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย” ที่ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร โดยการแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มักถูกเผาทิ้งในไร่ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า จากปัญหาสู่นวัตกรรม: แนวคิดพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน        รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการนี้ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายนวัตกรรมและสังคมยั่งยืนของมหาวิทยาลัย และได้รับความร่วมมือจากเครือมิตรผล (โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง) ในการเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเข้าร่วมโครงการ “นอกเหนือจากการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร โครงการนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาอ้อยก่อนการตัดขาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ PM 2.5 เกษตรกรจะได้เห็นความสำคัญของการไม่เผาและนำเอาใบอ้อยมาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นถ่านอัดแท่งที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้งานได้นานและไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม” รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กล่าวเพิ่มเติม “เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยทีมวิจัยมืออาชีพ”           รศ.ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งจากเถ้าชานอ้อยและใบอ้อย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยมีความเชี่ยวชาญด้านถ่านอัดแท่งมากว่า 18 ปี โดยเคยพัฒนาถ่านอัดแท่งจากเหง้ามันสำปะหลังและเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งในสวนมาก่อน “ปัจจุบันมีกระแสการลดการเผาใบอ้อย ทีมของเราจึงมองเห็นศักยภาพของใบอ้อยที่มีค่าความร้อนเหมาะสมสำหรับแปรสภาพเป็นถ่านอัดแท่งใช้ในครัวเรือน หรือใช้ให้ความร้อนในเชิงพาณิชย์ รวมถึงพัฒนาเป็นถ่านชีวภาพ (Biochar) สำหรับการปรับปรุงดิน” รศ.ดร.กิตติพงษ์ อธิบาย กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   […]

มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง” Read More »

thaipbs-นักวิชาการ มข.เผย “สาเหตุ – ทางออก” เผาไร่อ้อย

นักวิชาการ มข.เผย “สาเหตุ – ทางออก” เผาไร่อ้อย สำนักข่าว  :  thaipbs.or.th URL  :  https://www.thaipbs.or.th/news/content/348590 วันที่เผยแพร่  :  27  Jan 2025  ลิ้งก์ข่าวต้นฉบับ :  https://th.kku.ac.th/212960/

thaipbs-นักวิชาการ มข.เผย “สาเหตุ – ทางออก” เผาไร่อ้อย Read More »

ผู้เชี่ยวชาญวิศวะ มข. ชวนเจาะลึกคำถาม ‘ทำไมต้องเผาอ้อย’ ช่วงฝุ่น PM 2.5 วิกฤต พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เริ่มรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบางพื้นที่อยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จนทำให้รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาต่อเนื่อง ทั้งการขอความร่วมมือทำงานที่บ้าน (Work From Home) การงดเก็บค่าเดินทางเพื่อให้ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมไปถึงการขอความร่วมมืองดเผาในที่โล่ง ซึ่งปัญหาการเผานี้นับเป็นอีกปัจจัยที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะการเผาอ้อยของเกษตรกรที่แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาแต่ก็ยังพบเห็นอย่างต่อเนื่อง รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนมาหาคำตอบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาอ้อยแม้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในช่วงวิกฤต  รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาอ้อยว่า สาเหตุสำคัญมาจากค่าจ้างแรงงานตัดอ้อยสดกับอ้อยเผาต่างกันถึง 3 เท่า กลายเป็นต้นทุนให้เจ้าของไร่ต้องตัดสินใจเลือกการเผาเป็นทางออก และหากไม่เผาอ้อยคนงานบางส่วนก็ไม่ยอมตัดอ้อยเพราะมีทั้งหมามุ่ยและใบอ้อยรวมถึงขนอ้อยอาจทำให้บาดเจ็บและใช้เวลาตัดนานกว่าด้วย ขณะที่เจ้าของแปลงเล็ก ๆ ที่ไม่มีทั้งแรงงานและรถตัดอ้อยก็จำเป็นต้องขายเหมาแปลงให้รายใหญ่เข้ามาจัดการ ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองและบางครั้งหากไม่ยินยอมก็จะถูกลักลอบจุดไฟเผา และเมื่ออ้อยถูกเผาแล้วต้องรีบตัดเพื่อไม่ให้เน่าก่อนส่งไปโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง  สำหรับไร่อ้อยที่ต้องการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนก็ต้องเผชิญกับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งลักษณะของอ้อยซึ่งเป็นพืชที่โตเป็นกอ ทำให้ต้องตัดโคนและแยกใบออกจากลำ ก่อนจะสับและเป่าแยกใบหลายรอบ จึงจำเป็นต้องใช้รถตัดอ้อยใหญ่ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบาท ส่วนรุ่นกลาง ๆ หรือมือสองอยู่ที่ 5-6 ล้านบาท และมาพร้อมข้อจำกัดที่ทำให้การตัดอ้อยช้าลง ยังไม่รับรวมปัญหาทั้งการติดหล่มทราย หล่มโคลน หรือเมื่อตัดแล้วยังต้องทยอยนำอ้อยมาใส่รถบรรทุกที่จอดนอกแปลงจนกว่าจะมีพื้นที่ให้รถบรรทุกวิ่งเข้าไปขนาบรถตัดอ้อยได้ซึ่งทั้งหมดนี้อาจต้องเพิ่มทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรอีกนับไม่ถ้วน

ผู้เชี่ยวชาญวิศวะ มข. ชวนเจาะลึกคำถาม ‘ทำไมต้องเผาอ้อย’ ช่วงฝุ่น PM 2.5 วิกฤต พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม Read More »

คณะทำงานเซลล์แมนขอนแก่น ระดมสรรพกำลังผลักดัน ‘พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงในพื้นที่’ อุทยานวิทย์ มข.เสริมทัพ หนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนเเก่น นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดขอนเเก่น จัดประชุมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด (เซลล์แมนจังหวัด) ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับ ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงศ์ ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คุณพรชวรัตน์ ฐานมั่น ผู้จัดการแผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ฯ ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมศิริธนชัย ชั้น 2 สภาอุตสาหกรรม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ คณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด (เซลล์แมนจังหวัด) มีวาระหารือเรื่องการขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงในจังหวัดขอนแก่น และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (supply Chain) ของมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จากการหารือดังกล่าว ได้แนวทางการเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลังผ่านการแปรรูปเป็นวัตถุดิบขั้นต้นหรือการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงรวบรวมข้อมูลด้านการตลาดและความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังร่วมหารือถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นให้สร้างผลิตผลทางการเกษตรของพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง และเพื่อรองรับความต้องการวัตถุดิบในอนาคต ต่อไป ข่าว : วริศรา , ณัฐกานต์

คณะทำงานเซลล์แมนขอนแก่น ระดมสรรพกำลังผลักดัน ‘พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงในพื้นที่’ อุทยานวิทย์ มข.เสริมทัพ หนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม Read More »

เลื่อนไปด้านบน