มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง”

   มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสำนักบริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดโครงการ “สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย” ที่ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร โดยการแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มักถูกเผาทิ้งในไร่ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า จากปัญหาสู่นวัตกรรม: แนวคิดพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน        รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการนี้ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายนวัตกรรมและสังคมยั่งยืนของมหาวิทยาลัย และได้รับความร่วมมือจากเครือมิตรผล (โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง) ในการเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเข้าร่วมโครงการ “นอกเหนือจากการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร โครงการนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาอ้อยก่อนการตัดขาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ PM 2.5 เกษตรกรจะได้เห็นความสำคัญของการไม่เผาและนำเอาใบอ้อยมาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นถ่านอัดแท่งที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้งานได้นานและไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม” รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กล่าวเพิ่มเติม “เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยทีมวิจัยมืออาชีพ”           รศ.ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งจากเถ้าชานอ้อยและใบอ้อย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยมีความเชี่ยวชาญด้านถ่านอัดแท่งมากว่า 18 ปี โดยเคยพัฒนาถ่านอัดแท่งจากเหง้ามันสำปะหลังและเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งในสวนมาก่อน “ปัจจุบันมีกระแสการลดการเผาใบอ้อย ทีมของเราจึงมองเห็นศักยภาพของใบอ้อยที่มีค่าความร้อนเหมาะสมสำหรับแปรสภาพเป็นถ่านอัดแท่งใช้ในครัวเรือน หรือใช้ให้ความร้อนในเชิงพาณิชย์ รวมถึงพัฒนาเป็นถ่านชีวภาพ (Biochar) สำหรับการปรับปรุงดิน” รศ.ดร.กิตติพงษ์ อธิบาย กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   […]

มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง” Read More »