การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ

CLE HUSO KKU จับมือ Sumaa จัดประชุมวิชาการระดับชาติ “การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” ครั้งที่ 2

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับศุมา สถาบันภาษาและวัฒนธรรม จัดการประชุมวิชาการระดับชาติการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง “การสอนคำศัพท์ภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วิภาวี กฤษณะภูติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 3218 อาคาร HS.03 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ผศ.ดร.กัลยรัตน์ อุ่นทานนท์ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานว่า การประชุมวิชาการในหัวข้อดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อเสนอคำศัพท์สำหรับผู้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาตลอดจนผู้สนใจการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ  สำหรับบรรยากาศการประชุมในช่วงเช้าเริ่มด้วยการบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “การใช้ Chat GPT สำหรับการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร  จากนั้น รศ.ดร.ฐิติมา สุทธิวรรณ National University […]

CLE HUSO KKU จับมือ Sumaa จัดประชุมวิชาการระดับชาติ “การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” ครั้งที่ 2 Read More »

ผู้เชี่ยวชาญ มข.มองอนาคตภาษาไทย ผ่านปรากฏการณ์ “ใจฟู” ในวันที่กระแสต่างชาติพูด-เรียนภาษาไทยฟีเวอร์

“ใจฟู” “พระอาทิตย์กำลังไปนอน” “โอ้ว เก่งมาก” “จริง ๆ อร่อย” วลีที่ใครหลายคนติดหูกับสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์จนเก็บไปพูดตามจนเป็นกระแส สะท้อนอะไรเกี่ยวกับอนาคตของภาษาไทยในสังคม วันนี้ 29 กรกฎาคม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนมองปรากฏการณ์ภาษาไทยกับอินฟลูเอนเซอร์ชาวต่างชาติผ่านเลนส์ ผศ.ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ “แม้ว่าภาษาของเขาอาจจะฟังดูแล้วไม่เหมือนกับคนไทยที่พูดปกติ ต้องชื่นชมกลุ่มชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นยูทูบเบอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่เขาสามารถใช้ภาษาไทยได้ดีในระดับที่สามารถสื่อสารกับผู้ชมหรือแฟนคลับได้ ในความน่ารักตรงนั้นก็ทำให้เขามีผู้ติดตามค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีและแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยของเราเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นเมื่อเทียบกับแต่ก่อน” ภาษาไทยสไตล์อินฟลูฯ ต่างชาติ เพิ่มคำศัพท์ใหม่ ขยายความหมายเดิม แม้เหล่ายูทูบเบอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ชาวต่างชาติจะใช้ภาษาไทยไม่ตรงตามหลักภาษา แต่ในมุมมองของผู้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ผศ.ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ มองว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่เจ้าของภาษา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะพูดไม่ชัด เพราะมีเรื่องของวรรณยุกต์และพยัญชนะที่อาจจะต้องเรียนรู้และฝึกฝน หรือแม้ว่าจะมีคำบางคนที่ใช้ไม่ตรงตามความหมาย รวมถึงการเกิดกระแสคำศัพท์ใหม่ ๆ ออกมา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของภาษาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ภาษาไทยเสียหายแต่อย่างใด แม้จะเพี้ยนไปจากความหมายเดิม แต่ในเชิงอุปลักษณ์คำศัพท์ต่าง ๆ ล้วนเคยถูกใช้มาแล้ว เพียงต่อมามีการนำมาใช้ในบริบทและความหมายอื่นเพื่อเป็นการขยายความหมาย อย่างคำว่า “ใจฟุ หรือ ใจฟู” ในอดีตก็ไม่เคยมีการใช้คำว่า ฟู ร่วมกับคำว่าใจ แต่เมื่อนำมารวมกันก็ทำให้เกิดการขยายความหมายที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงดวงใจที่พองโตขึ้นมานั่นเอง ภาษาไทยฟีเวอร์! ชาวต่างชาติสนใจเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการสื่อสารด้วยภาษาไทยของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์หรือยูทูบเบอร์ต่างชาติหลาย ๆ

ผู้เชี่ยวชาญ มข.มองอนาคตภาษาไทย ผ่านปรากฏการณ์ “ใจฟู” ในวันที่กระแสต่างชาติพูด-เรียนภาษาไทยฟีเวอร์ Read More »

เลื่อนไปด้านบน