ปลายฝนต้นหนาว โรคภัยต่าง ๆ ก็เริ่มถามหา แต่ที่ใครหลายคนกำลังสงสัยและค้นหาจนกลายเป็นประเด็นยอดนิยมในโซเชียลช่วงนี้คงหนีไม่พ้น “โรคไอกรน” หลังจากมีข่าวว่าโรงเรียนบางแห่งต้องปิดชั่วคราวเนื่องจากระบาดของโรคไอกรนในกลุ่มเด็กเล็ก แล้วโรคนี้คืออะไร มีอาการ และวิธีรักษา-ป้องกันอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีคำตอบ อ.พญ.เพ็ญพิชชา เสมอตน กุมารแพทย์โรคติดต่อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายเกี่ยวกับ “โรคไอกรน” ว่า เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรีย หลังจากที่มีการติดเชื้อแล้ว ตัวเชื้อจะทำให้มีการอักเสบในทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไอ “การไอของโรคไอกรนจะค่อนข้างจำเพาะ คือ ไอต่อเนื่องกันเป็นชุด ๆ ชุดละ 5-10 ครั้ง เมื่อหยุดจะมีการหายใจเข้าอย่างแรง เรียกว่าการหายใจแบบวู๊ป (Whooping cough) ก่อนจะไอต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เรียกโรคนี้ว่า ไอกรน” เช็ก! 3 ระยะ อาการโรคไอกรน พร้อมวิธีรักษา สำหรับโรคไอกรนแบ่งช่วงแสดงอาการโรคได้เป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 เรียกว่า ระยะอาการหวัด ซึ่งจะคงอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยอาจจะไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูก และไอเล็กน้อย อาการคล้ายหวัดทำให้แยกอาการของโรคจากหวัดทั่วไปได้ยาก หลังพ้นระยะแรก