มข. เชิญนักวิชาการร่วมถก แนวโน้มรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา ปี 66

โลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าในด้านของอุตสาหกรรมการศึกษา ได้มีการปรับตัวให้สามารถอยู่รอดในวิกฤติดังกล่าวทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอน  การปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันการศึกษา  จนปัจจุบันกลายเป็น New normal ไปอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้  ฉะนั้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการพัฒนาระบบการศึกษา พัฒนาเนื้อหาหรือบทเรียน สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคนในทุกช่วงวัย ในทุกสถานการณ์ ให้สอดคล้องกับบริบทของการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  เพราะนี่อาจเป็นหนทางเดียวที่จะสามารถรั้งไม่ให้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ถูกเหวี่ยงออกนอกโคจรวงล้อแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงจัดการสัมมนา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา 2566 ขึ้น ผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี รศ. นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ปฏิรูปประเทศไทยด้วยอุดมศึกษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 31  มกราคม  2566  ที่ผ่านมา รศ. นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่า  ปัจจุบันคือยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งด้านหนึ่งเป็นภาวะคุกคามต่อมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือการปฏิรูปการศึกษา  ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพราะคุณสมบัตินี้จะส่งให้บัณฑิตเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ รวมถึงสร้างเทคโนโลยี สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูง ใช้ความรู้ในหลากหลายมิติช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน        การสัมมนา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา 2566 ในครั้งนี้ได้ทบทวน 5 ประเด็น หลักได้แก่ ปฏิรูปประเทศไทยด้วยอุดมศึกษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน  กรอบทักษะใหม่ที่สถานประกอบการและสังคมต้องการ  แนวโน้มรูปแบบและวิธีจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษ  Education Technology […]

มข. เชิญนักวิชาการร่วมถก แนวโน้มรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา ปี 66 Read More »