KKU students develop AI innovation to solve crowd crush tragedy, preventing crush deaths

ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนต่างเศร้าสลดกับโศกนาฏกรรมสุดสะเทือนขวัญของโลก จากเหตุฝูงชนเบียดกันจนเสียชีวิตระหว่างการเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในย่านอีแทว็อนของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ การเข้าไปเบียดของผู้คนจำนวนมากโดยไม่มีการจำกัดจำนวนคนเข้างาน ในถนนความยาวเพียง 40 เมตร กว้าง 3.2 เมตร แถมมีความลาดชัน  ผู้คนไม่สามารถทราบสถานการณ์ภายในงานว่าหนาแน่นเพียงใด ไม่สามารถระบุคนในตำแหน่งในถนนแต่ละสายได้  เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดสถานการณ์การเบียดกันตาย หรือ crowd crush มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 157 ราย และบาดเจ็บจำนวนมากในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 22:15 น. (เวลาเกาหลีใต้) จากเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าว นายชนม์สวัสดิ์ นาคนาม  นักศึกษาโครงงานปัญญาประดิษฐ์ วิทยาลัยคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงคิดค้นนวัตกรรม  “AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ“   โดยเผยว่า  AI สามารถวิเคราะห์ได้ซับซ้อนมากกว่าสมองหรือดวงตาของมนุษย์ที่จะมองเห็น และมีความแม่นยำ เพิ่มความสะดวกสบาย ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ เหตุการณ์  สถานที่ได้อย่างเหมาะสม  ยกตัวอย่างโครงการของตน คือ การใช้ AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น โดยโครงงานดังกล่าวสามารถระบุได้ว่าตรงไหนมีจำนวนคนหนาแน่น  โดยปกติสายตามนุษย์จะสามารถประเมินจำนวนคนในบริเวณนั้นได้คร่าว ๆ แต่อาจเกิดความล่าช้าและอาจเกิดความผิดพลาดสูง          “ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเหนื่อยขนาดนั้น  เราสามารถใช้ […]

KKU students develop AI innovation to solve crowd crush tragedy, preventing crush deaths Read More »