01. Change the educational management

1. ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation)

บัณฑิตวิทยาลัย จัดเวที Social Science Excellence Forum มุ่งยกระดับการศึกษาบัณฑิตศึกษากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการจัดโครงการ Social Science Excellence Forum สำหรับกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ ศ.ดร.เกียรติไชย ฟักศรี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ณ ห้อง VIP ชั้น 2 ร้านตำกระเทย สาเกต โดยมีคณบดี รองคณบดี จากคณะในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เข้าร่วมกว่า 16 ท่าน การจัดเวทีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อหารือแนวทางการบูรณาการการทำงานข้ามส่วนงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างคณะ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนผลการดำเนินงานด้านการศึกษาและการวิจัยบัณฑิตศึกษา พร้อมทั้งถอดบทเรียนความสำเร็จจากส่วนงานที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหารจาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสหวิทยาการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะนิติศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป ข่าว: ศิตธีรา สโมสร ศิริพร เบญจมาศ ภาพ: พัทธดนย์ ธนูเสริม

บัณฑิตวิทยาลัย จัดเวที Social Science Excellence Forum มุ่งยกระดับการศึกษาบัณฑิตศึกษากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ Read More »

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการแข่งขัน Boot Camp Training & Hackathon

คณะวิทยาศาสตร์ มข.  ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับ นางสาวเพ็ญนภา แก้วมูลเมือง นักศึกษาสาขาวิชาสถิติ หลักสูตรสถิติและวิทยาการข้อมูล ชั้นปีที่ 3 หนึ่งในสมาชิกทีม SunFlower ร่วมกับนักศึกษาจากหลากหลายสาขา คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2  พร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท จากการแข่งขัน Boot Camp Training & Hackathon ภายใต้โครงการ Data Universe: เส้นทางสู่นักวิเคราะห์ข้อมูล ในธีม Climate Change PM. 2.5  ภายใต้ทุน บพค. ปีงบประมาณ 2567 ณ ห้องวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส   เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการแข่งขัน Boot Camp Training & Hackathon Read More »

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่าย GEC ปีที่ 4 สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน เปิดโลกธรณีวิทยา มุ่งบ่มเพาะนักธรณีรุ่นใหม่ของไทย

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิด “ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp (GEC)” ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผศ.นุศรา สุระโคตร รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และ ผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ร่วมกล่าวเปิดค่าย ในการนี้มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีอีกกว่า 70 คน ร่วมกิจกรรม ณ บริเวณพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน หัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาค่ายวิชาการ กล่าวรายงานว่า ค่ายวิชาการ GEC ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2564 และปีนี้ก็เป็นปีที่ 4 ที่กิจกรรมถูกจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการให้นักเรียนที่สนใจธรณีวิทยาจากทั่วภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสนับสนุนทักษะการทำงานให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ซึ่งนับเป็นค่ายวิชาการที่จัดโดยชุมนุมนักศึกษาเทคโนโลยีธรณีภายใต้การดูแลของอาจารย์เพื่อนักเรียนที่สนใจเรียนรู้ธรณีวิทยาอย่างแท้จริง โดยนักศึกษาได้ฝึกการทำงานเป็นฝ่ายเริ่มตั้งแต่การวางแผน การลงมือปฏิบัติจริง และการถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเอกสาร ฝ่ายกราฟฟิกและออกแบบ

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่าย GEC ปีที่ 4 สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน เปิดโลกธรณีวิทยา มุ่งบ่มเพาะนักธรณีรุ่นใหม่ของไทย Read More »

สู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรมเตรียมความพร้อม Thailand-PSF

20-21 กุมภาพันธ์ 2568 – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ จัดกิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ (Thailand Professional Standards Frame: PSF) โดยมี รศ.ดร.โอภาส เกาไศยาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากร และ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวเปิดกิจกรรม Thailand Professional Standards Framework หรือ Thailand-PSF เป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล โดยแบ่งระดับสมรรถนะเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 สามารถสอนได้ ระดับที่ 2 สามารถวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ระดับที่ 3 สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ และระดับที่ 4 เป็นผู้นำการเรียนการสอนที่ได้รับการยอมรับ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวในพิธีเปิดว่า การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับการประเมินตามแนวทาง Thailand-PSF โดยมุ่งเน้นการเขียนผลงานและเตรียมเอกสารเพื่อขอรับการประเมินสมรรถนะอาจารย์ สอดคล้องกับนโยบายของคุรุสภาที่กำหนดให้คณาจารย์ผู้สอนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป ท่านคณบดียังกล่าวเพิ่มเติมว่า

สู่สมรรถนะอาจารย์มืออาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มข. จัดอบรมเตรียมความพร้อม Thailand-PSF Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มข. สร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษา เปิดห้องแลปบริการนักเรียนในภาคอีสาน

วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2568  คณะวิทยาศาสตร์ มข. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดฝึกอบรมที่ห้องปฏิบัติการคณะวิทยาศาสตร์  ดังนี้ นักเรียนโรงเรียนหนองเรือวิทยา จ.ขอนแก่น เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่ สาขาวิชาเคมี ในหัวข้อ “การไทเทรตกรด-เบส และการเตรียมสารละลายเบสมาตรฐาน”  สาขาวิชาชีววิทยา ในหัวข้อ “การสกัดดีเอ็นเอจากเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ และการตรวจสอบดีเอ็นเอที่สกัดได้ด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส” นักเรียนพร้อมคณะครูเข้าร่วม จำนวน 80 คน นักเรียนโรงเรียนดงหลวงวิทยา จ.มุกดาหาร เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่สาขาวิชาชีววิทยา ในหัวข้อ “การสกัดดีเอ็นเอจากเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ และการตรวจสอบดีเอ็นเอที่สกัดได้ด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการ ในหัวข้อ “ปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction of Forensic Science laboratory) สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย” และสาขาวิชาเคมี ในหัวข้อ “ศึกษาและทดสอบสมบัติหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์” นักเรียน พร้อมคณะครู จำนวน 96 คน นักเรียนโรงเรียนน้ำพองศึกษา จ.ขอนแก่น เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่ สาขาวิชาชีววิทยา ในหัวข้อ “การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและไมโอซิส” สาขาวิชาฟิสิกส์ ในหัวข้อ “การหาความต้านทานโดยใช้วิทสโตนบริดจ์”

คณะวิทยาศาสตร์ มข. สร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษา เปิดห้องแลปบริการนักเรียนในภาคอีสาน Read More »

Faculty of Computer Science, KKU organizes BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst

ผศ. ดร.สุมณฑา เกษมวิลาศ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้แผนงานย่อย N44 (S4P21) พัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีสมรรถนะและความรู้ ฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมถึง Coding โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ในการจัดกิจกรรม “BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON” ในโครงการ เส้นทางสู่จักรวาลข้อมูล: การพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมสู่การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Data Universe การแข่งขัน Hackathon จัดขึ้นภายใต้ธีม “Climate Change PM 2.5” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ. ดร.สุมณฑา เกษมวิลาศ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผู้ร่วมวิจัยประกอบไปด้วย

Faculty of Computer Science, KKU organizes BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst Read More »

Students of the Faculty of Computer Science, KKU show their potential, winning 7 awards at the national competition E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีกับ นายญาณาธร บุญลือ (หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ชั้นที่ปี 2) และ นายปุณณวิชญ์ พงษ์สวโรจน์ (หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นที่ปี 1) สองนักศึกษาจาก วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สร้างผลงานโดดเด่นในการแข่งขันกิจกรรม “Hackathon & Pitching สู่วิชาชีพขั้นสูง” และการนำเสนอโครงงาน (Advance Coding & AI Skills and Proposal Round: E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2) โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพด้าน STEM, Coding & AI ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ซึ่งการแข่งขันนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน ก่อนจะผ่านการคัดเลือกจนเหลือเพียง 20 ทีมสุดท้าย ที่เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 –

Students of the Faculty of Computer Science, KKU show their potential, winning 7 awards at the national competition E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2 Read More »

มข.ให้การต้อนรับ น้อง ม.ปลาย รร.มหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างแรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยนายชุมพร  พารา ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร พร้อมด้วยบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้การต้อนรับ คณะครู และนักเรียน โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำโดย นางเนตรนภา วงศ์ชารี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 130 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน การจัดการเรียนการสอน ณ ห้องประชุม 3218 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในงานได้มีกิจกรรมแนะแนวการรับเข้าศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางสาวนวรตน์ วงศ์คำจันทร์ และ นางสาวพรชณิตว์ นามโคตร นักวิชาการศึกษา วิทยากรจากสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้น คณะครู และนักเรียน โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งกลุ่มเยี่ยมชมคณะต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นสายวิทย์ และสายศิลป์ เพื่อเดินทางไปเยี่ยมชม และศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ การเข้าศึกษาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา และมีนโยบายจัดการแนะแนวการศึกษาต่อ โดยนำนักเรียนเข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้นักเรียน

มข.ให้การต้อนรับ น้อง ม.ปลาย รร.มหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างแรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา Read More »

KKU develops Skill Mapping Dashboard system to support in-depth data, helping faculties design curricula that are in line with the future.

Khon Kaen University (KKU), by the Office of Academic Administration and Development, has developed the Skill Mapping Dashboard, a system for analyzing data on skills required in each occupation, as an important tool in designing curricula for faculties in line with future labor market trends, responding to lifelong learning and enhancing the competitiveness of new-era graduates. The Office of Academic Administration and Development has developed the Skill Mapping Dashboard, a system for analyzing data on skills required in each occupation, as an important tool in designing curricula for faculties. It has received support and guidance from the Vice President for Education, along with information from the Office of the Permanent Secretary for Higher Education, Science, Research and Innovation (OPM), in which the IT Support team led by the Director and Deputy Director of Information Technology and Digital Innovation, Office of Academic Administration and Development, has jointly developed the system to be able to be used accurately and efficiently. The highlights of the Dashboard are: - Displaying data on skills required in each occupation, including the level of expertise required - Analyzing trends and frequencies of skills commonly found in job postings - Helping faculties and curriculum developers use insights to design curricula that meet labor market needs The development of the Skill Mapping Dashboard system of Khon Kaen University is in line with the strategy for effective educational transformation (Education Transformation), which is a guideline that helps faculties design curricula that are in line with skills that the labor market needs in the future, using insights from the digital system. This is an adjustment of the educational management process to be modern and meet the needs of society and the economy in the future. In addition, this project also promotes

KKU develops Skill Mapping Dashboard system to support in-depth data, helping faculties design curricula that are in line with the future. Read More »

Faculty of Technology, KKU serves deliciousness, weaving health and heart: International Food Festival TEKKU 2025 "Creative space for food culture without borders"

On February 14, 2025 at 5:00 p.m., the Faculty of Technology, Khon Kaen University organized the opening ceremony of the International Food Festival, Faculty of Technology, Khon Kaen University, or TE KKU International Food Festival 2025, honored by Associate Professor Dr. Chanchai Panthongviriyakul, President of Khon Kaen University, and Assistant Professor Dr. Araya Chaowaruangrit, Dean of the Faculty of Technology, who gave a report, along with the university executives, lecturers, students, and the general public attending the event in large numbers at the lawn in front of TE Outlet, Faculty of Technology, Khon Kaen University. Associate Professor Dr. Chanchai Panthongviriyakul, President of Khon Kaen University, said that the Faculty of Technology recognizes the importance of the dynamic changes in today's society, especially the application of Generative AI technology to develop food products and create business opportunities for new entrepreneurs through real-world experience training in business operations, learning, and practice. For students to become entrepreneurs who can sell their own products, they need to go through the planning, operation, and product design processes that meet sustainable health care needs. This year's event is organized under the concept of "Innovative & Cozy Food:

Faculty of Technology, KKU serves deliciousness, weaving health and heart: International Food Festival TEKKU 2025 "Creative space for food culture without borders" Read More »

Scroll to Top