Brighter Future with KKU Research

Brighter Future with KKU Research

First in Thailand! Innovative ready-made waste disposal machine for sustainable health.

ปัญหาการจัดการสิ่งปฏิกูลในชุมชนท้องถิ่นไทยเป็นความท้าทายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการกำจัดของเสียจากรถดูดส้วมที่มักถูกนำไปทิ้งในพื้นที่โล่งหรือป่า ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค พยาธิ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลแบบดั้งเดิมที่ใช้กันในหลายเทศบาลยังคงเป็นแบบบ่อทรายกรอง ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางกลิ่นและแมลงรบกวน อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคและพยาธิ เป็นสาเหตุการเกิดโรคและเพิ่มต้นทุนในการรักษาประชาชนในระบบสาธารณสุขไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล ผดุงทน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์  จึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น      “ละว้า” โมเดล เครื่องกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบสำเร็จรูป ที่แรกในไทย จากการศึกษาพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี โดยการแพร่ระบาดของโรคมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เมื่อรถดูดส้วมนำไปทิ้งในที่ต่างๆ ไข่พยาธิจะแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารผ่านสัตว์น้ำ และกลับมาสู่มนุษย์ผ่านการบริโภคอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้พัฒนา “เครื่องกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบสำเร็จรูป” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อโครงการ “ละว้า โมเดล” (LAWA Model – Integration Of Human Waste Management For Sustainable Control Liver Fluke Infection In Northeast Thailand) โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง ประเทศสิงคโปร์ ผ่านทุนวิจัย Lien Environmental […]

First in Thailand! Innovative ready-made waste disposal machine for sustainable health. Read More »

Amazing! KKU lecturer researches fermented rice husks to improve soil quality, helping to generate sustainable income for Thai farmers

          หากจะกล่าวว่าประเทศไทยเป็น “ประเทศแห่งเกษตรกรรม” ก็คงไม่ผิด เพราะจำนวนพี่น้องเกษตรกร 8.7 ล้านคน ประกอบกับพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรกว่า 142.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 44.5 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด ส่งผลให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) วิเคราะห์มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) พบว่าภาคเกษตรกรรมมีมูลค่า 1,531,120 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.81 ของ GDP รวมของประเทศ แต่จากปัญหาทางทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลง และปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกษตรกรที่มีรายได้น้อยอยู่แล้วประสบปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปพึ่งการทำการเกษตรแบบ “เกษตรเคมี” มากกว่า โดยหวังจะช่วยให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทว่านี่อาจเป็นการสร้างความเสียหายต่อที่ดินทำกิน และส่งผลต่อความยั่งยืนในการทำการเกษตรในอนาคต จากปัญหานี้เองทำให้มีนักวิชาการหันมาสนใจศึกษาถึงวิธีการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีสภาพที่ดินทำกินที่เอื้อต่อการผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งความสนใจนี้ทำให้ รศ.ดร.นันทวัน ฤทธิ์เดช อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาแบบ “เกษตรอินทรีย์” โดยการนำแกลบมาหมักกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการนำแกลบที่ใช้ปรับปรุงดินอยู่แล้วไปต่อยอดให้มีประสิทธิภาพที่ดีขื้นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรไทย งานวิจัยนี้ได้นำแกลบดิบมาทำการปรับสภาพด้วยน้ำประปา โมลาส(กากน้ำตาล) ปูนขาว กรดอะซิติก(กรดน้ำส้ม) เป็นเวลา 30 วัน และนำแกลบดิบผสมกับปุ๋ยคอกและหัวเชื้อแบคทีเรีย (Co-inoculums) เป็นระยะเวลา 2

Amazing! KKU lecturer researches fermented rice husks to improve soil quality, helping to generate sustainable income for Thai farmers Read More »

สเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวต้านเชื้อจุลชีพ 2 in 1 รักษาโรคผิวหนัง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในยุคที่การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงกลายเป็นเรื่องสำคัญ โรคผิวหนังจากเชื้อจุลชีพยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายเจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้คิดค้นนวัตกรรมสเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวต้านเชื้อจุลชีพ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคผิวหนังในสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย Brighter Future with KKU Research ตอนนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับงานวิจัยสูตรสเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวต้านเชื้อจุลชีพสำหรับโรคผิวหนังในสัตว์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จรีรัตน์ เอี่ยมสะอาด และทีมวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.จรีรัตน์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยว่า เกิดจากแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรกัญชาแมว ซึ่งนอกจากจะมีสรรพคุณในการทำให้แมวอารมณ์ดีแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังในสัตว์ได้อีกด้วย โดยทีมวิจัยได้นำสมุนไพรกัญชาแมวมาสกัดและพัฒนาเป็นสูตรสเปรย์ที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลชีพ จากการศึกษาและทดลองอย่างละเอียดพบว่า สเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคผิวหนังอักเสบในสัตว์ได้ถึง 6 ชนิด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสตาฟิโลค็อกคัส ซูดอินเตอร์มิเดียส เชื้อยีสต์มาลาสซีเซีย พาไคเดอร์มาติส เชื้อราไมโครสปอรัม เคนิส เชื้อไมโครสปอรัม จิปเซียม เชื้อไมโครสปอรัม กัลลิเน และเชื้อไทรโคไฟตัน เมนทาโกรไฟต์ ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง “ปกติเมื่อสัตว์เป็นโรคผิวหนัง มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ซึ่งนอกจากจะมีราคาแพงแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการดื้อยาในระยะยาว แต่เมื่อใช้สเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวนี้ นอกจากจะช่วยยับยั้งเชื้อจุลชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการดื้อยาได้อีกทางหนึ่ง” รศ.ดร.จรีรัตน์ กล่าว นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังในสัตว์เท่านั้น แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ช่วยลดการใช้สารเคมีและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งในขณะนี้ทีมวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) ที่พร้อมสำหรับการศึกษาในระดับคลินิกหรือทดลองในสัตว์ โดยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์นี้ไปศึกษาวิจัยในสัตว์เพิ่มเติม เพื่อรวบรวมข้อมูลและพัฒนาให้พร้อมสำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์ในอนาคต

สเปรย์สมุนไพรกัญชาแมวต้านเชื้อจุลชีพ 2 in 1 รักษาโรคผิวหนัง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Read More »

Khon Kaen University launches innovative research: ruminant supplements from medical plants to drive the livestock industry in line with the BCG approach to create a sustainable future

The research team of Khon Kaen University led by Assoc. Prof. Dr. Metha Wannapat, Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, launched an innovative research project: Supplements for Ruminants from Medical Plants to Drive the Livestock Industry in Line with the BCG” Creating Sustainability in the Animal Husbandry Industry and Producing High-Efficiency and Low-Cost Supplements From Challenges to Research on Formulas for Ruminants In the past, the use of herbal plant extracts in animal supplements was still new and required acceptance from farmers and entrepreneurs in the animal husbandry industry. Research and testing were required to confirm efficacy and safety. According to the Department of Livestock Development, the use of cannabis, hemp, and kratom as supplements for farm animals is an interesting new topic, especially in hemp plants, which are high in protein and energy-providing nutrients, omega-3 and 6 fatty acids, as well as 17 types of amino acids, most notably Glutamic acid, Leucine, Lysine, and Methionine. This challenge led Assoc. Prof. Dr. Metha Wannapat and the research team from the Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, to start researching formulas for supplements for ruminants. By using extracts from cannabis, hemp and kratom, which is considered research that there are still very few researchers in Asia, focusing on giving animals high quality food, helping to reduce costs in the animal husbandry industry and helping farmers reduce animal husbandry expenses and increase profits, as well as helping to reduce the production of methane gas which causes global warming. The research helps maintain the quality of food supplements and inhibits microorganisms that produce methane gas. Assoc. Prof. Dr. Methas explained that ruminants such as

Khon Kaen University launches innovative research: ruminant supplements from medical plants to drive the livestock industry in line with the BCG approach to create a sustainable future Read More »

Researchers at Khon Kaen University have invented a coating formula for “masks and air filters” from green tea pulp extract, 2 in 1, effectively filters dust and inhibits bacteria.

Counting down from the rainy season to the dust season, the PM 2.5 dust crisis is another problem that Thai society has to face every year, including various bacteria that are harmful to the body. If accumulated, it can cause respiratory diseases, especially allergies, which affect daily life. Therefore, researchers from Khon Kaen University have developed an air filter coating formula to reduce the accumulation of bacteria to solve these problems. Brighter Future with KKU Research today will take everyone to explore this research to develop an air filter coating formula to reduce the accumulation of bacteria from green tea grounds, led by Asst. Prof. Dr. Wirat Charoenboon, a lecturer in the Physics Department, Faculty of Science, Khon Kaen University, and Assoc. Prof. Dr. Pornpapa Kasemsiri, a lecturer in the Chemical Engineering Department, Faculty of Engineering, Khon Kaen University, Asst. Prof. Dr. Supranee Phanthanawiboon, a lecturer in the Microbiology Department, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Ms. Natthanaree Srichiangsa, and Mr. Sutheeporn Kitthang, students of the Faculty of Science, Khon Kaen University, as a research team. Asst. Prof. Dr. Wirat talked about the beginning of the research in 2022 after receiving funding support from the Innovation and Enterprise Division, Khon Kaen University. Therefore, we have conducted further research from the study and development of face masks during the COVID-19 outbreak by extracting leftover green tea waste with water to obtain two substances: phenolics and tannins, which have antibacterial properties, mixed with PVA polymers by dissolving them in water, which is an environmentally friendly method.

Researchers at Khon Kaen University have invented a coating formula for “masks and air filters” from green tea pulp extract, 2 in 1, effectively filters dust and inhibits bacteria. Read More »

Vegan leather reduces global warming. KKU researches the production of leather from mangoes. From waste to beauty. Zero Waste.

มะม่วงของประเทศไทยเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติดี สีสวย โดยผลผลิตส่วนใหญ่ 96% ใช้บริโภคภายในประเทศ ส่วนปริมาณการส่งออกมีเพียง 2.3% ( การผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก , กรมส่งเสริมการเกษตร2565-2567) เนื่องจากมะม่วงมักประสบปัญหาด้านคุณภาพของการผลิต อาทิ ผลผลิตถูกทำลายจากศัตตรูพืช ผิวผลบาง ทำให้เน่าเสียง่ายและไม่ทนทานต่อการขนส่ง และอายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องปรับและพัฒนาผลผลิตเพื่อให้ตรงตามมาตรฐาน GDPถึงอย่างไรก็ยังมีผลผลิตที่เสียทิ้งจากการเกษตร นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาลัยนานาชาติ  จึงดำเนินโครงการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนนโยบายรัฐ โดยการนำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อหาทางนำผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐานมาสร้างมูลค่า ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดสินค้า ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และการขยายช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น  รองศาสตราจารย์พรนภา เกษมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาสาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยว่า ทีมวิจัยได้นำความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุศาสตร์ในการสร้างมูลค่าจากผลมะม่วงที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้วยการผลิตเป็นเครื่องหนังชีวภาพ สร้างเครื่องหนังจากพืชหรือที่เรียกว่าหนังชีวภาพขึ้นมาทดแทนการฆ่าสัตว์เพื่อทำเครื่องหนัง “ความคาดหวังก็คืออยากจะเห็นการเอาพวกวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือของที่ไม่มีมูลค่า เราสามารถผันเปลี่ยนให้มันเป็นของที่ใช้งานได้ มีมูลค่าแล้วก็ต่อยอดเข้าไปสู่อุตสาหกรรมได้ โดยอายุการใช้งานคงทนแข็งแรงไม่ต่างจากเครื่องหนังจากสัตว์” ปัจจุบันต้นทุนในการผลิตหนังจากเยื้อของมะม่วงตกเกรดนั้นยังมีต้นทุนสูง เนื่องจากผู้บริโภคยังไม่แผ่หลาย ทั้งยังใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนราคาสูง  แต่เชื่อว่าหากไม่หยุดคิดค้นพัฒนา และมีผู้บริโภคสนับสนุนจะสามารถลดต้นทุนได้ ลดโลกร้อนได้ในอนาคต โครงการดังกล่าวใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการคิดค้นสูตรที่ลงตัวเพราะอุปสรรคในการเข้าถึงเครื่องมือแต่ท้ายที่สุดก็สามารถผลิตหนังชีวภาพและเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องหนังได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ร.ศ.พรนภา เกษมศิริยังมีความต้องการที่จะส่งเสริมและผลักดันให้เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่านการทำวิจัยร่วมกันในรั้วมข.สู่ระดับสังคม “การที่เราไปได้ในทุกๆ วันนี้มันเกิดจากการที่เราได้รับการซัพพอร์ตจากคนอื่น ทุกอย่างมันเกิดมาจากการที่นักศึกษาซัพพอร์ตเรา อาจารย์หลายๆ ท่าน ศูนย์วิจัยหลายๆ ท่านที่เราทํางานด้วยกันซัพพอร์ตกัน”

Vegan leather reduces global warming. KKU researches the production of leather from mangoes. From waste to beauty. Zero Waste. Read More »

World's First! KKU Researches "Grass Jelly Waste", Creating Biomass Products to Support Thai Industrial Sector to Move Towards Waste to Value

ท่ามกลางความพยายามในการจัดการกับของเสียหรือขยะจากภาคอุตสาหกรรม นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่เพียงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้โจทย์ปัญหา Zero waste แต่ยังต่อยอดจนนำไปสู่การสร้างขยะหรือของเสียให้มีมูลค่า หรือ  Waste to value ซึ่งเป็นเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในขณะนี้   รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวรัตน์ เงินเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ นางสาวฉัตรลดา ไชยวงค์ นักศึกษาปริญญาโท และทีมนักศึกษาปริญญาตรี จึงได้จับมือกับเฉาก๊วยแบรนด์ดังอย่าง “เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง” นำกากต้นเฉาก๊วยซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตที่ถูกฝังกลบทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ปีละหลายพันตันมาเพิ่มมูลค่าจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงอัดเม็ด  “ทีมวิจัยของเรานับเป็นที่แรกของโลกที่นำกากต้นเฉาก๊วยมาสร้างเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดและตัวดูดซับสารปนเปื้อนได้สำเร็จ มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้จริง ยกระดับจาก Zero waste ให้กลายเป็น Waste to value ได้สำเร็จ” ด้วยคุณสมบัติของกากต้นเฉาก๊วยที่ให้ค่าความร้อนที่สูงอยู่แล้ว การนำมาแปรรูปเป็น “เชื้อเพลิงอัดเม็ด” จะยิ่งช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บ รวมทั้งลดต้นทุนการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็มีความแข็งแรงทนทานมาก และไม่ต้องใช้ตัวประสานในการอัดเม็ด จึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตต่างจากชีวมวลชนิดอื่น ทั้งยังมีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (มอก.) ไม่เพียงเชื้อเพลิงอัดเม็ด รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวรัตน์ ยังชวนทำความรู้จักกับถ่านชีวภาพ (Biochar) และถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) หรือชื่อที่หลายคนคุ้นเคย คือ ชาร์โคล ซึ่งเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยทีมวิจัยได้นำกากต้นเฉาก๊วยมาผ่านกระบวนการสร้างรูพรุนด้วยการให้ความร้อนและสารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวของวัสดุให้มีคุณสมบัติในการดูดซับ ก่อนจะพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน wastewater treatment โดยดูดซับไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลู (Methylene Blue Dye) ซึ่งเป็นสีย้อมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เพื่อลดมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม “ประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพจากกากต้นเฉาก๊วยนั้นดียิ่งกว่าถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดหรือเมล็ดทานตะวันด้วย  รวมถึงถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลอีกหลาย ๆ ชนิด” ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวรัตน์ กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า ผลงานวิจัยที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้

World's First! KKU Researches "Grass Jelly Waste", Creating Biomass Products to Support Thai Industrial Sector to Move Towards Waste to Value Read More »

Researchers at KKU invent NGAL protein test strip to screen for kidney abnormalities within 15 minutes. Kidney failure can be prevented! By yourself.

The research team of Khon Kaen University led by Assoc. Prof. Dr. Jurirat Daduang has developed the “urine NGAL (Neutrophil Gelatinase-associated Lipocalin) protein test strip” to help screen for abnormalities of the renal tubules from the beginning. The test takes no more than 15 minutes to know the results with the naked eye. It can measure the amount of NGAL protein in urine at the nanogram level and has an accuracy of approximately 90%. It is considered a small test strip that is easy to use. The general public can access the self-screening for kidney disease using a urine sample of approximately 20 microliters. If the test result shows 2 lines, it is an indication that the patient should undergo a kidney diagnosis and medical treatment. Recently, the innovation “NGAL protein test strip” received a “Good” award in the 2023 Higher Education Innovation Contest organized by the National Research Office (NRCT), Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI), and received a trophy and cash prize in August 2023. Currently, the innovation “NGAL protein test strip” is in the process of additional clinical sample testing. In the future, if the production of NGAL protein test strips can be commercialized, the general public will be able to access kidney disease screening more easily at a reasonable price, which will result in lower government expenses for importing test kits and reducing the burden of treating patients with chronic kidney disease. Kidney disease can be prevented by controlling blood pressure and blood sugar levels to be in the normal range, reducing the consumption of spicy and salty foods, drinking enough water, and exercising regularly. Avoid taking herbal medicines and some types of herbal medicines for a long period of time. Use medicines according to the advice of a doctor or pharmacist.

Researchers at KKU invent NGAL protein test strip to screen for kidney abnormalities within 15 minutes. Kidney failure can be prevented! By yourself. Read More »

มข.วิจัยเส้นทางเที่ยว สายธรรมชาติ-รักษ์ท้องถิ่น หนาวนี้เช็กอินที่ “คอนสาร”

กระแสท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมในปัจจุบันสร้างรายได้และรอยยิ้มให้ชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่นเดียวกับ “อำเภอคอนสาร” จังหวัดชัยภูมิ จากเดิมแม้คนในพื้นที่ไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญ แต่ปัจจุบันกลับถูกผลักดันจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินสร้างอาชีพหล่อเลี้ยงคนในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องจากบ้านเกิดไปทำงานแออัดกันในเมืองใหญ่ “อำเภอคอนสาร” จังหวัดชัยภูมิ  เมืองทางผ่านที่นักท่องเที่ยวมักมองข้าม  แต่กลับมีสถานที่ธรรมชาติและวัฒนธรรมซ่อนอยู่มากมาย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำมาสู่การทำวิจัย ณ คอนสารโมเดล : การท่องเที่ยวมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไทคอนสาร โดย อ.ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวสถานที่แห่งนี้ผ่านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม อ.ดร.แก้วตา กล่าวว่า  โดยหลักการมนุษย์จะอาศัยพื้นที่เดิมจนเกิดความเคยชิน จนมองไม่เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิศาสตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถบูรณาการให้เกิดคุณค่าเชิงเศรษฐกิจได้   จากฐานการวิจัย พบสองฝั่งอำเภอคอนสารที่ถนนตัดผ่านนั้น ฝั่งหนึ่งมีศักยภาพเชิงนิเวศ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวที่ได้รับการเสนอให้เป็นพื้นที่มรดกอาเซียน ทั้งยังมีภูเขาหินปูน และถ้ำผามากมายจนได้ฉายา “เมืองร้อยถ้ำ” อีกฝั่งเป็นพื้นที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ชุมชนและผู้นำทางจิตวิญญาณได้นิยามให้ “คอนสารเป็นนครบาดาล” เพราะเป็นจุดชุมนุมของพญานาคสี่ตระกูล และเป็นเส้นทางบำเพ็ญบารมีของพระสายธรรมยุติ ขณะเดียวกันยังมีประเพณีบุญเดือนห้าบูชาน้ำผุด รวมถึงบุญเดือนหกกับการลงทรงองค์ปู่ฯ และขบวนแห่หัวตลกที่โดดเด่นเฉพาะตัวของไทคอนสาร จุดเด่นที่ซ่อนเร้นอยู่ในท้องถิ่นถูกขับเน้นให้เห็นภาพชัดขึ้นสะท้อนกลางใจคนในชุมชน ผ่านกระบวนการถอดบทเรียนความสำเร็จของผู้ประกอบการชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมจัดการธุรกิจ ผ่านการเล่าเรื่องราว เพื่อรักษาและเพิ่มคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับเครือข่าย และชุมชน นำไปสู่การออกแบบโครงการ “ส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ”   อ.ดร.แก้วตา ยังอธิบายอีกว่า โครงการนี้ได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอาหารและโฮมสเตย์ ซึ่งประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและฝั่งที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกษตร

มข.วิจัยเส้นทางเที่ยว สายธรรมชาติ-รักษ์ท้องถิ่น หนาวนี้เช็กอินที่ “คอนสาร” Read More »

“Ugly Veggies” แพลตฟอร์มขาย “ผักไม่สวย แต่มีคุณภาพ” ลดขยะอาหาร-สร้างรายได้ให้เกษตรกร งานวิจัยเด่นจาก มข.

“Ugly Veggies” แพลตฟอร์มขาย “ผักไม่สวย แต่มีคุณภาพ” ลดขยะอาหาร-สร้างรายได้ให้เกษตรกร งานวิจัยเด่นจาก มข. ตอบโจทย์การช่วยแก้ปัญหา SDGs 2 – ZERO HUNGER ยุติความหิวโหย สร้างความมั่นคงทางอาหาร        สถานการณ์ปัญหาขยะจากอาหารเป็นประเด็นที่ทุกประเทศกำลังร่วมมือกันแก้ไข โดยการผลักดันและประยุกต์เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food loss and Food Waste) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นกลยุทธ์ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ รวมถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น      ผศ.ดร.ชวิศ เกตุแก้ว รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์ วิจัยและต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้อำนวยการโครงการ “Ugly Veggies Thailand” กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ “Ugly Veggies Thailand” ว่า วิทยาลัยนานาชาติมีชุมชนเป้าหมายคือ กลุ่มเกษตรกรอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ที่ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนด้าน Smart Farming เมื่อศึกษาไประยะหนึ่ง จึงพบว่าชุมชนมี Pain Point คือผัก Organic หรือผักอินทรีย์ที่ผลิตออกมาเมื่อคัดผักที่มีมาตรฐานตามความต้องการของตลาดประมาณ 50-70 %

“Ugly Veggies” แพลตฟอร์มขาย “ผักไม่สวย แต่มีคุณภาพ” ลดขยะอาหาร-สร้างรายได้ให้เกษตรกร งานวิจัยเด่นจาก มข. Read More »

Scroll to Top