Porntip Khamdee

นักศึกษาแชร์ไอเดียแต่งห้องพักเล็กๆ เป็น Comfort Zone ในสไตล์ที่ตัวเองชอบ

สำนักข่าว: sanook URL: https://www.sanook.com/home/26501/ วันที่เผยแพร่: 2 ส.ค. 2563 ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยบางคนอาจมีโอกาสได้สัมผัสชีวิตเด็กหอ หรือการแชร์บ้าน ห้องพักร่วมกับเพื่อนๆ หรือรูมเมท เจ้าของเพจเฟชบุ๊ก Smart XI (สมาร์ท) ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้โพสต์ภาพเพื่อแชร์ไอเดียการตกแต่งห้องพักส่วนตัวเล็กๆ ลงในเฟชบุ๊ก จากห้องโล่งๆ เปลี่ยนเป็นห้องพักในสไตล์ที่ตนเองชอบ หรือ Comfort Zone ส่วนตัว ดเริ่มต้นเจ้าของห้องเริ่มจากห้องพักเปล่าที่มีขนาดประมาณ 3 X 3.5 เมตร เจ้าของห้องขนของจากที่บ้านเข้ามาเพิ่ม และตกแต่งในห้องบ้าง แต่ไม่มาก กำลังสำคัญที่เข้ามาช่วยคือเพื่อนสนิท 2 คน ที่ทั้งพาไปซื้อของและประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในห้อง สำหรับห้องพักของนักศึกษาหนุ่มคนนี้ดูเรียบง่าย แต่ไม่ทิ้งความเป็นธรรมชาติ เพราะมีการนำต้นไม้มาตกแต่งเพิ่มเติม พื้นที่ที่ใช้พักผ่อนเป็นฟูกนอน ส่วนอีกมุมใกล้ๆ กันเป็นมุมนั่งชิล ด้านที่ติดกับหน้าต่างมีโต๊ะเล็กๆ วางแคคตัส ไม้ประดับ ไม้ฟอกอากาศ ฯลฯ เสริมบรรยากาศให้ห้องสดชื่น และมีความเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น ดยเจ้าของห้องได้ไอเดียการตกแต่งห้องมาจาก Pinterest เพจออกแบบและตกแต่งบ้านต่างๆ จากนั้นก็ซื้อของมาตกแต่งในสไตล์ที่เป็นตัวเอง และของส่วนใหญ่ก็ซื้อจาก Homepro เรียกได้ว่าลงตัว ถูกใจเจ้าของห้อง

นักศึกษาแชร์ไอเดียแต่งห้องพักเล็กๆ เป็น Comfort Zone ในสไตล์ที่ตัวเองชอบ Read More »

การศึกษา – มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม ‘เอไอ’คัดกรองโรคแม่นยำ-รองรับ‘เมดิคอล ฮับ’

สำนักข่าว: ข่าวสดออนไลน์ URL: https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_4633876 วันที่เผยแพร่: 3 ส.ค. 2563 มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม – รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า มข.ได้จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี : ปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) เพื่อความเป็นเลิศด้านการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยมีคณาจารย์นักวิชาการจากคณะวิชาต่างๆ จากมข. มหา วิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) สถาบันภายในประเทศ และ ภาคเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวต่อว่า เรื่องของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือเอไอ จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในทุกมิติ แต่สำหรับการประชุมในครั้งนี้เน้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพหรือ เฮลท์แคร์ ด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งคือการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำลังดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ หรือเมดิคอล ฮับ ที่กำลังมีการก่อสร้างอาคารและการขยายผลการดำเนินการ สำหรับในวงการแพทย์แล้วปัญญาประดิษฐ์มีความเกี่ยวข้องในหลายด้าน เช่น การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เรื่องของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งการวินิจฉัยโรคที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย เช่น การอ่านชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา การอ่านฟิล์มเอกซเรย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถที่สูง ช่วยลดความผิดพลาดและแปลผลได้อย่างละเอียดแม่นยำ นอกจากนี้ยังรวมถึง แมชชีน

การศึกษา – มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม ‘เอไอ’คัดกรองโรคแม่นยำ-รองรับ‘เมดิคอล ฮับ’ Read More »

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’

สำนักข่าว: ประชาไท URL: https://prachatai.com/journal/2020/08/88889 วันที่เผยแพร่: 3 ส.ค. 2563 นักวิชาการเผยสถานการณ์ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ พบภาคอีสาน 15 จังหวัด มีโรงไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท หวั่นชาวบ้านอ่วมสารเคมี เหตุแผนพลังงานทดแทนฯ เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีกกว่า 6 ล้านไร่ ด้าน สช.ผนึกภาคีจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 3 ส.ค.2563 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า สช. จัดเวทีนำเสนอ “ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) กรณีการผลิตไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ ผลกระทบ และข้อจำกัด ซึ่งจะนำไปประกอบการจัดทำนโยบายสาธารณะ และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเชิงบวกและลบ รวมถึงปัจจัยทางสังคมที่ผลกระทบต่อสุขภาพ (ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โดยจะใช้ข้อมูลจากแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง สุทธิพงษ์ กล่าวว่า ในกระบวนการจัดทำ HIA จะมีการนำเครื่องมือที่หลากหลายเข้ามาช่วยวิเคราะห์ มีการนำกระบวนการการมีส่วนร่วมของพื้นที่เข้ามาใช้ มีการคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบโดยมีปัจจัยกำหนดสุขภาพของพื้นที่เป็นตัวกำหนด ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีทางเลือกหลากหลายทิศทาง และทางเลือกเหล่านั้นก็จะนำไปสู่การตัดสินใจว่าจะเลือกทางเลือกใด ในส่วนของข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งผ่านการขัดเกลาและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากในพื้นที่มาเป็นระยะแล้วนั้น เมื่อผ่านการพูดคุยและให้มุมมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต่อไป” สุทธิพงษ์ กล่าว ถัดจากนั้น ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ โดย วิจิตรา ชูสกุล ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาอีสาน กล่าวถึงสถานการณ์พลังงานในพื้นที่ภาคอีสานว่า ส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานชีวมวล ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท กระจายตัวอยู่ใน 15 จังหวัด มีกำลังการผลิตติดตั้ง 948.55 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตที่ขาย 595.13 เมกะวัตต์ ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองที่ตั้งไว้ 15% นั้น ทุกวันนี้ภาคอีสานมีอยู่กว่า 47% โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ Read More »

“มข.”ดัน!”จิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต”

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL:https://www.banmuang.co.th/news/region/201360 วันที่เผยแพร่: 4 ส.ค. 2563 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่โรงแรมโฆษะ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการประชุมวิชาการจิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยมี ข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ ภาคีเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ และภาคประชาชน ร่วมงานจำนวน 100 คน โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลง โดยเน้นที่จิ้งหรีดเป็นสำคัญ แนวทางส่งเสริมการยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนจากแมลง ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาซึ่งมุ่งเน้นแนวทางการยกระดับเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มปลอดภัย ถือเป็นการสร้างกระแสการรับรู้ประโยชน์ของจิ้งหรีดที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ให้เป็นแหล่งอาหารแห่งอนาคต ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย  อธิการบดี มข. ประธานในพิธีกล่าวเปิดการประชุมว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการจิ้งหรีดอีสานครั้งที่ 2 ในวันนี้ และขอขอบคุณสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้จัดการประชุมวิชาการ และได้รับความสนใจจากผู้เข้าประชุมจำนวนมาก เป็นที่ทราบชัดเจนว่า อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลงเป็นอาหารแห่งอนาคตที่มีลู่ทางแจ่มใสในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและประชาชนในภาคอีสานมีความรู้ความชำนาญ คุ้นชิน นิยมบริโภคมานาน เป็นองค์ความรู้ของพื้นถิ่น

“มข.”ดัน!”จิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต” Read More »

กรมพัฒนาธุรกิจฯ เดินหน้าดึงคนรุ่นใหม่ประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์-มอ.โชว์ผลงานเด่นซิวแชมป์

สำนักข่าว: RYT9 URL: https://www.ryt9.com/s/prg/3147874 วันที่เผยแพร่: 6 ส.ค. 2563 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าดึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กลุ่มนิสิต/ นักศึกษา และกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน เข้าร่วมโครงการ DBD Boost UP Online # จับมือ จับเม้าส์ เข้าสู่ออนไลน์ ซึ่งเป็นโครงการประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย (Thailand E-commerce Pitching Contest 2020) โดยงานได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมคนรุ่นใหม่หันมาทำการค้าขายผ่านออนไลน์ เพื่อให้ทันต่อโลก และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อของบนออนไลน์มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาได้แบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 รอบคัดเลือก (คัดเลือกจากคลิป VDO Presentation และเอกสารนำเสนอผลงาน) และรอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ (คัดเลือกจากการนำเสนอแผนธุรกิจด้วยตนเอง จำนวน 15 ทีม) โดยทีมชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ทีมสลีปเปอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กรมพัฒนาธุรกิจฯ เดินหน้าดึงคนรุ่นใหม่ประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์-มอ.โชว์ผลงานเด่นซิวแชมป์ Read More »

“นกน้อย อุไรพร” นำ 22 คณะหมอลำชื่อดัง แถลงห้ามผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเผยแพร่ทำซ้ำ ดัดแปลงลงในสื่อโซเชียลทั้งเชิงพาณิชย์และสร้างความเสียหาย

สำนักข่าว: สยามรัฐ URL: https://siamrath.co.th/n/174797 วันที่เผยแพร่: 5 ส.ค. 2563 เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 5 ส.ค.63 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. พร้อมด้วย ชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน 22 คณะหมอลำชื่อดัง นำโดย นางอุไร ฉิมหลวง หรือ นกน้อย อุไรพร ผู้บริหารหมอลำคณะเสียงอีสาน และประธานชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน ร่วมออกแถลงการณ์เรื่องการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ของคณะหมอลำในชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน เนื่องจากปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง FACEBOOK ,LINE ,YOUTUBE และสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆมีบทบาทในการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีระบบการดำเนินงานธุรกิจและสื่อประขาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆผ่านสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวซึ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก และผลงานของชมรมคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ทางชมรมฯเป็นผู้ทรงสิทธิ์ทางกฎหมาย จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อขอความร่วมมือให้พี่น้องประชาชนและแฟนเพลงทุกคนได้ดำเนินการตามแถลงการณ์จำนวน 4 ข้อเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ประกอบด้วย 1.อนุญาตให้เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ภาพนิ่งศิลปินหรือการแสดงหน้าเวทีหรือผลงานอันมีสิทธิ์อื่นๆที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับศิลปินและทางคณะหมอลำ แต่ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่งของศิลปิน การแสดงของวงหมอลำ หรือกิจกรรมอื่นใดของวงหมอลำที่ไม่เหมาะสม โดยที่ภาพดังกล่าวอาจนำไปสู่ความเสียหายกับศิลปินหรือวงหมอลำ 2.อนุญาตให้เผยแพร่ คลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาทีในสื่อออนไลน์ที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเป็นคลิปวีดีโอที่ไม่ก่อความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเป็นการละเมิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับทางศิลปินและคณะหมอลำ หากผู้ใดมีความประสงค์จะเผยแพร่ ผลงานการแสดงหน้าเวทีหรือกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการแสดงของคณะหมอลำที่เป็นสมาชิกในภาคีเครือข่ายหมอลำเรื่องต่อกลอนในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหวในสื่อออนไลน์ใดๆ

“นกน้อย อุไรพร” นำ 22 คณะหมอลำชื่อดัง แถลงห้ามผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเผยแพร่ทำซ้ำ ดัดแปลงลงในสื่อโซเชียลทั้งเชิงพาณิชย์และสร้างความเสียหาย Read More »

World First! KKU students create mobile application to help doctors assess the risk of patients with intubation

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/region/201457 วันที่เผยแพร่: 5 ส.ค. 2563 ครั้งแรกในโลก ! นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มข. จับมือ แพทย์ สร้าง mobile application เครื่องมือช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงว่าผู้ป่วยสอดท่อช่วย หายใจยาก หรือ ง่าย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ช่วยชีวิตได้เร็วขึ้น เมื่อวันที่ 5 ส.ค. อ.นพ.ปริวัฒน์ ภู่เงิน อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ Difficult Airway Detection Application (DI Detection App) ว่า application ดังกล่าวเกิดจาก การศึกษาพัฒนาร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.วนิดา แก่นอากาศ  นายสิรวิชญ์ ศรีสุริยานุกูล และนายสิรภพ จารุธัญลักษณ์ ซึ่งจากการศึกษาวรรณกรรมเกี่ยวกับ mobile application in health care ยังไม่พบงานวิจัยแบบนี้เกิดขึ้น ฉะนั้นโปรเจคนี้จึงเป็นครั้งแรกของโลก ในการสร้างเครื่องมือในลักษณะ mobile

World First! KKU students create mobile application to help doctors assess the risk of patients with intubation Read More »

นศ.ม.ขอนแก่นชนะเลิศประกวดคลิป“ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์”

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/education/200967 วันที่เผยแพร่: 1 ส.ค. 2563 างสาวเบญจรัตน์  กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้ารับโล่รางวัลชนะเลิศ และเงินรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จากการประกวดคลิปสั้น ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ  ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ณ หอประชุมเล็ก กระทรวงวัฒนธรรม   สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย รศ.ดร.ตรีศิลป์  บุญขจร  นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดการประกวดคลิปสั้นวันภาษาไทยแห่งชาติ 2563  ภายใต้โครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์” ขึ้น  โดยแบ่งออกเป็นการประกวดคลิปสั้นขึ้น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป  และประเภทนักเรียน  ซึ่งผลการประกวดประเภทอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปนั้น  นางสาวเบญจรัตน์  กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นผู้ชนะเลิศ  ได้รับโล่และเงินรางวัลจาก นายอิทธิพล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ  ณ หอประชุมเล็ก กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร   นางสาวเบญจรัตน์ กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  “แนวคิดในการทำคลิปสั้น ‘ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์’ ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ เนื่องจากชอบการ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นทุนเดิม ประกอบกับการเรียนในสาขาวิชาภาษาไทย จึงอยากเผยแพร่ความรู้ในด้านภาษา วรรณศิลป์ ให้กับเยาวชน ผ่านการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และสามารถเข้าใจได้ง่าย  หวังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ร่วมกันสืบสานงานด้านวรรณศิลป์ ให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป รักภาษาไทย ใส่ใจวรรณศิลป์ ปัญญาแห่งแผ่นดิน วิถีใหม่ต้องไม่ลืม”

นศ.ม.ขอนแก่นชนะเลิศประกวดคลิป“ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์” Read More »

“มข.” จัดพิธีทำบุญ เปิดโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/region/200975 วันที่เผยแพร่: 1 ส.ค. 2563 เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีทำบุญประกอบกิจการ โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ, รศ.ดร.ไมตรี อินประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ผู้บริหาร ,หัวหน้าโครงการ บุคลากร และแขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมกันถวายภัตตาหารเช้า และเครื่องสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยได้รับเมตตาจากพระครูเมตตากิตติคุณ (หลวงตาสมหมาย อัตตมโน) พร้อมคณะสงฆ์ รวม 9 รูป ออกรับบิณฑบาต และเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินการกิจการของโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน รศ.นพ.ชาญชัย  อธิการบดี มข.กล่าวว่าโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรงงานต้นแบบการผลิต “นาโนซิลิกอน” จากแกลบและเถ้าแกลบเพื่อใช้ในขั้วแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอนถึง 12 เท่า ซึ่งมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา สามารถกักเก็บพลังงานได้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประจุไฟใหม่อื่น ๆ

“มข.” จัดพิธีทำบุญ เปิดโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน Read More »

มข.มีความเป็นเลิศทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

สำนักข่าว: ศูนย์ข่าวนครขอนแก่นออนไลน์ URL: http://www.smilefm101.com/archives/1489 วันที่เผยแพร่: 25 ก.ค. 2563 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี : ปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) เพื่อความเป็นเลิศด้านการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน จากนั้น เป็นปาฐกถา(Online) ในหัวข้อ “Will AI Change the World and Thailand: Healthcare Perspectives” โดย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภายในงานยังมี รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ

มข.มีความเป็นเลิศทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ Read More »

Scroll to Top