Khon Kaen University welcomes executives from the Agricultural Biotechnology Center Network to exchange knowledge and researchers to support the Thai agricultural sector.

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยรศ.ดร.ภาณุพล หงษ์ภักดี  รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและการต่างประเทศ  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้อนรับ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  นำโดยดร.อรอุบล ชมเดช ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร พร้อมคณะผู้บริหาร ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       รศ.ดร.ภาณุพล หงษ์ภักดี  รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและการต่างประเทศ  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีพันธกิจบริการวิชาการ งานวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แก่ภาคีเครือข่าย  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เรามีศูนย์ฟีโนม (Khon Kaen University Phenome Centre) ให้บริการวิชาการวิจัยทางด้านฟีโนมิกส์ แก่นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิจัยในเครือข่าย รวมถึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)   ทั้งในแง่ของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการ และงบประมาณ

Dr. Oraubon Chomdet, Director of the Center of Excellence in Agricultural Biotechnology เผยว่า  ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรหน่วยบริหารงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร  กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ( อว.) มีพันธกิจส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เริ่มแรกเจ็ดศูนย์ตามสาขาความขาดแคลนของประเทศและสร้างห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบัณฑิตศึกษาและการวิจัยระดับสูง ต่อมาได้ทำงานด้านวิชาการแบบข้ามสถาบัน

“ทำให้ปัจจุบันมีศูนย์ความเป็นเลิศทั้งสิ้น 8 ศูนย์ ในสถาบันการศึกษาเครือข่าย ปัจจุบันผลิตบัณฑิต ทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโท นักวิจัยผู้ช่วยระดับปริญญาตรี-โท นักวิจัยหลังปริญญาเอก นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เน้นพันธกิจด้านการวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่การผลิตนักวิจัยที่มีมีทักษะด้านการวิจัย  เพื่อการพัฒนาศูนย์ให้เกิดพลังในการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นระบบบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อใช้แก้โจทย์ปัญหาของประเทศในหลากมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมและด้านวิชาการควบคู่กับการพัฒนากำลังคนในระดับสูงในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

 

ข่าว/ ภาพ : จิราพร  ประทุมชัย

Scroll to Top