The Cannabis Research Institute, the Research Administration Division, and the Research and Graduate Studies Division invite those interested to join the academic conference and the opening ceremony of the KKU hemp plantation, “Thinking Together, Dreaming Together, Creating Thai Hemp.”

สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย”

The Cannabis Research Institute, the Research Administration Division, and the Research and Graduate Studies Division are providing an opportunity for interested persons to join the academic conference project and the opening of the KKU hemp plot “Thinking together, dreaming together, cultivating Thai hemp” at the Vegetable Plants Section, Faculty of Agriculture, between 3 – 5 April 2021 to provide knowledge on the cultivation and utilization of hemp at Khon Kaen University, the first standardized hemp research and development learning center in Khon Kaen Province.

สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย”
สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์ 

สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชง ที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัยด้านกัญชงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างแพร่หลาย

โดย กิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 วันที่ 3 เมษายน 2564 การประชุมวิชาการและเสวนาวิชาการ “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย”  กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น.  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  ลงทะเบียนท่านละ 3,000 บาท    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้ด้านกัญชงหลากหลายมิติ โดยทีมวิทยากรมากความสามารถจากหลากหลายสถาบัน ได้เข้าร่วมชมแปลงกัญชงและร่วมรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชง และกัญชา พร้อมรับของที่ระลึกที่ผลิตจากใยกัญชง รีบสมัครด่วน !!!  รับจำนวนจำกัด เพียง 80 คน เท่านั้น

กิจกรรมที่ 2 วันที่ 3 เมษายน 2564  เปิดแปลงกัญชง สำหรับผู้เข้าร่วมชมกิจกรรมภายในงาน (ประเภททั่วไป) รับผู้เยี่ยมชม จำนวน 100 คน/ วัน อัตราค่าเข้าชมท่านละ 50  บาท สามารถเข้าชม แปลงได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 18.00 น. มีจำหน่ายบัตรเข้าชมแปลงกัญชงหน้างาน  และ ในวันที่ 4 – 5 เมษายน 2564 เข้าชมแปลงกัญชงได้ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 18.00 น. พร้อมชิมชากัญชง  และรับชมนิทรรศการความรู้ด้านกัญชง และกัญชา

เส้นทางการเดินทางไปยังสถานที่จัดงานโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์
เส้นทางการเดินทางไปยังสถานที่จัดงานโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์

สำหรับกัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp) ในประเทศไทยยังถูกจำแนกเป็นพืชเสพติดประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพราะพืชกลุ่มนี้มีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) สารเสพติดที่ ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท Cannabinol (CBN) and Cannabidiol (CBD) สารต้านการออกฤทธิ์ของสาร THC ซึ่ง ในเฮมพ์มีปริมาณของสาร THC ต่ำกว่ากัญชามาก จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับเฮมพ์ จากทางลบกลายเป็นบวก เฮมพ์ จึงเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่โดดเด่นเรื่องของเส้นใย รองลงมา คือสาร CBD ใน เมล็ด ซึ่งเส้นใยเฮมพ์สามารถให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกฝ้าย ให้คุณภาพสูงกว่า ใช้แรงงานในการปลูกน้อยกว่า ไม่ต้องใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชปริมาณมาก เจริญเติบโตได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กัญชงเป็นพืชที่น่าจับตามองใน เรื่องพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการนำเส้นใยกัญชงเข้ามาทดแทน เส้นใยสังเคราะห์ทั้งหมดในอนาคต สาเหตุมาจากปัญหา  ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาสุขภาพ อาจกล่าวได้ว่า เฮมพ์สามารถสร้างมูลค่านับแสนล้านจากการนำทุกส่วนของเฮมพ์ไปแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ประเภทในระดับอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอเครื่องนุ่มห่ม อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ผลิตกระดาษ ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และผลิตพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทำให้ต้องมีการส่งเสริมการปลูก ผลิต และจำหน่ายมากขึ้น แต่เนื่องจากพื้นที่ปลูกในประเทศไทยมีสภาพแวดล้อม สภาพ  ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน ส่งผลต่อปริมาณของสาร THC โดยตรง อาจทำให้ปริมาณของสาร THC ในเฮมพ์ที่ปลูกนั้น มีปริมาณค่อนข้างสูง ปัจจุบันปลูกได้ใน 6 จังหวัด 15 อำเภอของภาคเหนือของประเทศไทย

การจะเริ่มต้นปลูกเฮมพ์ แบบอุตสาหกรรมเส้นใยได้นั้น ต้องเป็นไปตามที่กฎกระทรวง ร ะบุไ ว้ซึ่งต้องมีปริมาณ Tetrahydrocannabinol (THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง การปลูกเฮมพ์จึงเน้นระยะห่างระหว่างต้นให้ใกล้กันที่สุดซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีลำต้นยาวตรงสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้อง หรือข้อยาวเพื่อนำเส้นใย แกนลำต้น  เมล็ด และใบจากเฮมพ์มาใช้ประโยชน์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีการศึกษาค้นคว้างานวิจัย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีทั้งงานวิจัยพื้นฐาน  และงานวิจัยประยุกต์และทางคลินิก ตลอดจนมีนักวิจัย และเครื่องมือการวิจัยที่มีศักยภาพที่จะดำเนินการวิจัย ต่างๆ ทุกด้านและทุกสาขาวิชา มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัย  แคนนาบิสครบศาสตร์ เพื่อดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับพืชกัญชง และกัญชา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับอนุญาตให้ผลิต (ปลูก) กัญชง ใน พื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนประมาณ 2 ไร่ ณ หมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำการปลูกกัญชงเพื่อการศึกษาวิจัยกัญชง เพื่อปลูกประเมินลักษณะประจำพันธุ์ และปริมาณสาระสำคัญในกัญชง (THC)  และ (CBD) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัฒนาระบบการผลิตกัญชงให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2563 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา และกองบริหาร งานวิจัยจึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการและงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชง ไทย”     ขึ้นในวันที่ 3 – 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชง ที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัยด้านกัญชงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างแพร่หลายนั่นเอง

รวบรวมข่าว :  เบญจมาภรณ์  มามุข

ข้อมูล :  สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา 

กำหนดการพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย”                                                                                                                                                                                                                                                             ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์ 

โครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์
โครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย”                 ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์


Scroll to Top