ต้นแบบแบตเตอรี่สำหรับรถถัง และ แผ่นคอมพอสิทสำหรับปะซ่อมยานพาหนะ 2 งานวิจัย มข. คว้ารางวัล จากเวที ประกวดผลงานวิจัยและหน่วยงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567

คณะนักวิจัยจากFaculty of Engineering Faculty of Science and Battery and New Energy Factory, Khon Kaen University คว้า 2 รางวัล จากผลงานต้นแบบแบตเตอรี่สำหรับรถถัง and แผ่นคอมพอสิทสำหรับปะซ่อมยานพาหนะ ในกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของกองทัพบก ประจำปี 2567 ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา


     byการประกวดผลงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567 มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่น ที่นักวิจัยจากหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ดำเนินการภายใต้โครงการหรือชุดโครงการร่วมกับกองทัพบก เพื่อชมเชยและเชิดชูเกียรติผลงานดังกล่าว ส่งเสริม/สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นขวัญและกำลังใจให้กับนักวิจัย ซึ่งแบ่งการประกวดออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ด้านยุทโธปกรณ์ และ 2) ด้านหลักการ ในการประกวดครั้งนี้มีผลงานเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้นจำนวน 20 ผลงาน

“โครงการวิจัยชุดแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับการใช้งานในรถถังรุ่น VT 4 และ รถถังเบารุ่น Commando Stingray” สามารถคว้ารางวัล ผลงานวิจัยดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ อันดับที่ 3
“โครงการวิจัยชุดแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับการใช้งานในรถถังรุ่น VT 4 และ รถถังเบารุ่น Commando Stingray”  ผลงานวิจัยดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ อันดับที่ 3

     เป็นที่น่ายินดีว่าผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “โครงการวิจัยชุดแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับการใช้งานในรถถังรุ่น VT 4 และ รถถังเบารุ่น Commando Stingray” สามารถคว้ารางวัล ผลงานวิจัยดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ อันดับที่ 3 ซึ่งโครงการดังกล่าวมี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง ผศ.ดร.ธนูสิทธิ์ บุรินทร์ประโคน and อ.ดร. ทรงยุทธ แก้วมาลา อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ andคณะนักวิจัยจากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ Led by ดร.นรินทร วิริยะ และดร.รัตติยา หงษ์ทอง เป็นผู้ดำเนินงาน ร่วมกับหน่วยใช้ คือ กองพันทหารม้าที่ 6 กรมทหารม้าที่ 6 ค่ายศรีพัชรินทรฯ จังหวัดขอนแก่น สำหรับโครงการนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และ อยู่ระหว่างการขยายผลทดสอบความปลอดภัยภายใต้สภาวะแวดล้อมทางการทหารให้เป็นไปตามมาตรฐานของกองทัพบก

“โครงการแผ่นคอมพอสิทปะซ่อมชนิดใหม่โดยการเชื่อมด้วยตนเองสำหรับพื้นผิวที่มีรอยแตกของยานพาหนะทางการทหาร” รางวัลงานวิจัยดีเด่น ด้านหลักการ อันดับที่ 2
 “โครงการแผ่นคอมพอสิทปะซ่อมชนิดใหม่โดยการเชื่อมด้วยตนเองสำหรับพื้นผิวที่มีรอยแตกของยานพาหนะทางการทหาร” รางวัลงานวิจัยดีเด่น ด้านหลักการ อันดับที่ 2

     และอีกความสำเร็จที่สามารถคว้า รางวัลงานวิจัยดีเด่น ด้านหลักการ อันดับที่ 2 คือ ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการแผ่นคอมพอสิทปะซ่อมชนิดใหม่โดยการเชื่อมด้วยตนเองสำหรับพื้นผิวที่มีรอยแตกของยานพาหนะทางการทหาร”  ซึ่งมี รศ.ดร. พรนภา เกษมศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ and ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ  อ.ดร.นฤเบศ หล่อวณิชไพศาล  อ.ดร.ณัฏฐ์วัฒน์ ศรีขาว (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) and ผศ.ดร.อุไรวรรณ พงสา (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) เป็นผู้ดำเนินงาน ร่วมกับหน่วยใช้ คือ กองส่งกำลังบำรุงมณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น โดยผลงานวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

     in additionBattery and New Energy Factory, Khon Kaen University ยังได้รับคัดเลือกให้นำผลงานไปร่วมจัดนิทรรศการ และ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆของกองทัพที่มีความต้องการใช้แบตเตอรี่เป็นอย่างมาก (“โครงการพัฒนาชุดแบตเตอรี่ลิเทียมไออน สำหรับรถถัง VT4 และ Commando Stingrays” ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สป.อว. ปี 65 โดยดำเนินการภายใต้ศักยภาพโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ของมหาวิทยาลัยได้เอง)


     ทั้งนี้ การประกวดผลงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567 มีการพิจารณาคัดเลือกผลงาน ดำเนินการโดย คณะกรรมการพิจารณาผลงานวิจัยและหน่วยวิจัยดีเด่นประจำปีกองทัพบก (กผด.ทบ.) ซึ่งมี พล.ต. ระวี ตั้งพิทักษ์กุล ผอ.สวพ.ทบ. เป็นประธาน ผลงานที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก (แต่ละกลุ่ม) ได้รับเงินรางวัล เกียรติบัตร และโล่เกียรติยศ จากกองทัพบก เพื่อเป็นเกียรติประวัติของนักวิจัยเจ้าของผลงานต่อไป

News: Benjamaporn Mamook
ข้อมูล : โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่

โครงการแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับรถถัง VT4 และ Stingrays
https://youtu.be/SLGFfuBemrE?list=PLuIte5e3sKWxm1RhfoVI2eBybvs8ozF-T

Scroll to Top