มข.จับมือ วุฒิสภา แก้ปัญหาความยากจน จัดเสวนา “แก้ยากจน ลดเหลื่อมล้ำ ด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์”

KKU joins hands with the Senate to solve poverty problems, organizing a seminar on “Solving poverty, reducing inequality with cement core weir innovation”

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา จัดสัมมนา เรื่อง “แก้ยากจน ลดเหลื่อมล้ำ ด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์” พร้อมร่วมนำเสนอผลงานวิจัยแก้จน ตอกย้ำการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อสังคม

รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฯ สำนักบริการวิชาการ มข.
รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฯ สำนักบริการวิชาการ มข.
     Khon Kaen University In conjunction withSenate Committee on Poverty Alleviation and Inequality Reduction จัดเสวนา เรื่อง “แก้ยากจน ลดเหลื่อมล้ำ ด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม 402-403 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดงาน” ในการนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมเสวนาในประเด็น การศึกษาคุณลักษณะฝายแกนดินซีเมนต์ ฯ มีคณะกรรมาธิการ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนประชาชน เข้าร่วมรับฟังการสัมมนา พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสิทธิ์  คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Associate Professor Dr. Suphasit Konyai, Deputy Director of Academic Services, Academic Services Office, Khon Kaen University
     Assoc. Prof. Dr. Suphasit Konyai รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ  สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการ “การวิจัยศึกษาคุณลักษณะฝายแกนดินซีเมนต์สำหรับการแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2565 (วช.) มีนักวิจัยที่มาร่วมทำการศึกษา จากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งวัตถุประสงค์ในการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์นั้น เพื่อให้เกษตรกรนอกเขตชลประทานให้สามารถมีน้ำเพื่อการผลิต บริโภคและอุปโภคได้ตลอด 365 วัน หรือตลอดทั้งปี และเพื่อป้องกันปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม ลดความเหลื่อมล้ำสำหรับเกษตรกรเมื่อมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี เกษตรกรสามารถกำหนดแผนการผลิตและการตลาดได้ด้วยความมั่นใจ สามารถวางแผนปลูกพืชผักมูลค่าสูงได้ สามารถทำประมงและการทำปศุสัตว์โดยไม่มีความกังวลใจ
มข.จับมือ วุฒิสภา แก้ปัญหาความยากจน จัดเสวนา “แก้ยากจน ลดเหลื่อมล้ำ ด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์”
KKU joins hands with the Senate to solve poverty problems, organizing a seminar on “Solving poverty, reducing inequality with cement core weir innovation”
     รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวต่อว่า การดำเนินงานในครั้งนี้มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคามandร้อยเอ็ด มีฝายที่เราได้คัดเลือกมาทั้งสิ้น 15 ฝายจากทั้งหมด 88 ฝาย ซึ่งนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์ มีจุดเด่นคือ จะมีแกนดินซีเมนต์ที่ลึกเป็น 2 เท่าของฝาย ทำให้สามารถชะลอน้ำและเก็บน้ำลงในดินได้เพิ่มขึ้น ทำให้บริเวนฝายมีความชุ่มชื่นเพิ่มขึ้น จาก 1 เดือน เป็น 3 – 4 เดือน ทำให้เกษตรกรทำการเกษตรได้นานขึ้น ที่สำคัญสามารถสร้างได้ในทุกสภาพพื้นที่ของทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งในพื้นที่สูงและพื้นที่ราบ สามารถกักเก็บน้ำให้เพียงพอสำหรับทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี และช่วยรักษาความชุ่มชื่นของป่าด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่าฝายทุกชนิด ผนวกกับองค์ความรู้ในด้านการจัดการน้ำ ที่นำมาสร้างโมเดลในการแก้ไขปัญหา โดยเรียงลำดับความสามารถในแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในแต่ละพื้นที่ได้มากที่สุด ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เราได้นำเอาไปรวมอยู่ในคู่มือเพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานในท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ต่อยอดในพื้นที่ของตนเองได้ เมื่อคณะกรรมการวุฒิสภาฯ ได้มาเห็นนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์ จึงนำไปต่อยอดขยายผลในการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ
     ที่สำคัญในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตนซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ พร้อมทีมนักวิจัยร่วม ได้มีการขยายผลการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเหนือ ไม่น้อยกว่า 300 ตัว และทางจังหวัดขอนแก่นเอง ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ก็กำหนดให้การขยายการสร้างฝายเป็นนโยบาย เพื่อรองรับปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่จะเกินขึ้นที่รุนแรงและยาวนาน 3-5 ปีในข้างหน้า ซึ่งการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยไปปรับใช้ในการช่วยเหลือชุมชนและประชาชนในมิติต่างๆ โดยเฉพาะให้พ้นจากความยากจน มาเกือบ 60 ปี เป็นการตอกย้ำการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อสังคม …..รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ กล่าวในตอนท้าย
     
     ในช่วงท้ายของการเสวนา คณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรเมื่อเกษตรกรมีน้ำใช้ เพื่อการผลิตอย่างเพียงพอแล้ว ควรสนใจทำการเกษตรผสมผสานหรือการเกษตรที่มีมูลค่าสูง การเกษตรผสมผสานและไม่ใช้สารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ จะช่วยให้เกษตรกรพ้นจากความ และนี่คือการแก้จนด้วยการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ การขุดบ่อบาดาลน้ำตื้น และใช้โซล่าร์เซลล์และการใช้ระบบน้ำหยด เป็นตัวอย่างที่ดีของการแก้ความยากจนในระดับชุมชนหมู่บ้าน จากประสบการณ์ของเราพบว่า ตลอดสี่ปีที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์  นอกจากนั้นประธานวุฒิสภาและคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เยี่ยมชมบูธนิทรรศการแสดงขั้นตอนการการสร้างฝายตลอดจนความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์อีกด้วย
ข่าว : เบญจมาภรณ์  มามุข
ภาพ ข้อมูล : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Scroll to Top