02. ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย

2. ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย (Research Transformation)

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น ชูวิจัย “หมอลำ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เสริมทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ยุคดิจิทัล

วันที่ 26 ธันวาคม 2567 – วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอผลการดำเนินงานและผลกระทบของโครงการวิจัยเรื่อง “หมอลำ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์: วิถีการแปรเปลี่ยนนวัตกรรมและการประกอบการทางวัฒนธรรมในสังคมเสมือน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น หัวหน้าโครงการวิจัย “หมอลำ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯ” ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) การนำเสนอครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในจังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) โครงการวิจัย “หมอลำ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯ” มุ่งเน้นการพัฒนาวัฒนธรรมหมอลำให้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์และเศรษฐกิจชุมชนในยุคดิจิทัล นำเสนอแนวทางการปรับตัวของศิลปินหมอลำและผู้ประกอบการวัฒนธรรมในสังคมเสมือนผ่านการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนา ยกระดับ และต่อยอด การแสดงพื้นบ้าน “หมอลำ” ซึ่งถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมสำคัญของชาวอีสานไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์และก้าวสู่การเป็น Soft Power ภายใต้บริบทของสังคมเสมือนที่นับวันยิ่งมีความก้าวหน้าและท้าทายยิ่งขึ้น […]

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น ชูวิจัย “หมอลำ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เสริมทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ยุคดิจิทัล Read More »

นักวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัล Best Oral Presentation ในงาน PMU-B Brainpower Congress 2024

รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัล Best Oral Presentation Award จากงาน PMU-B Brainpower Congress 2024 โดยได้นำเสนอผลงานหัวข้อ “การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงในด้านเทคโนโลยี AI-generative ร่วมกับ VR/AR/MR และความรู้ด้านวิทยาการสมอง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างฟังก์ชันสมองของผู้เรียน ระหว่างความร่วมมือของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายภาคเอกชน” PMU-B Brainpower Congress 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี จัดโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Ignite Thailand: ปลดล็อกศักยภาพคนไทย จุดประกายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เพื่อส่งเสริมการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง พร้อมยกระดับเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คนจาก 80 หน่วยงาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

นักวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัล Best Oral Presentation ในงาน PMU-B Brainpower Congress 2024 Read More »

บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มข. รับ 2 รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ประจำปี 2567

บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มข. รับ 2 รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ในงานมหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นเวทีแสดงผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จัดโดย ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย (ปขมท.) เมื่อวันที่ 6 – 7 ธันวาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมภายในงาน มีการปาฐกถาพิเศษ การบรรยายพิเศษ และเวทีแสดงผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการแสดงผลงาน เป็นการนำเสนอผลงานการพัฒนางานประจำ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และคู่มือปฏิบัติการฯ ทั้งแบบ Poster และ Oral Presentation ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้ส่งงานเข้าร่วมกว่า 200 ผลงาน การนำเสนอผลงานครั้งนี้ บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับ 2 รางวัล Poster และ Oral Presentation ดังนี้ ทนพญ.แพรววลี วินทะไชย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มข. รับ 2 รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ประจำปี 2567 Read More »

สุดยอดนวัตกรรมไทย! “การออกแบบผ้าไหมด้วย AI” คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับนานาชาติ

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับนานาชาติ ในการแข่งขันนวัตกรรมและการออกแบบ จากความสำเร็จในโครงการ “นวัตกรรมการออกแบบผ้าไหมด้วยปัญญาประดิษฐ์” (Innovation in Silk Pattern Design using AI) คว้า 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลนวัตกรรมระดับ เหรียญทอง พร้อมใบประกาศนียบัตร และ รางวัล Special Award จากประเทศอินโดนีเซีย เหรียญทอง พร้อมใบประกาศนียบัตร ในงาน Kaohsiung International Invention and Design EXPO (KIDE) 2024  โดยมี รศ. ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นผู้รับมอบรางวัลครั้งนี้  ทั้งนี้การแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2567 ณ เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน รศ. ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เผยว่า นวัตกรรมดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสรรค์ลวดลายผ้าไหมไทยไม่เพียงแสดงถึงศักยภาพในด้านนวัตกรรมของคนไทย แต่ยังช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล

สุดยอดนวัตกรรมไทย! “การออกแบบผ้าไหมด้วย AI” คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับนานาชาติ Read More »

สุดเจ๋ง! อ.คณะสหวิทยาการ มข. ได้รับรางวัลดีเด่น 2 รางวัล จากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2567

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ นนทพจน์ อาจารย์ประจำหลักสูตร ป.โท หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ“Human Touch & Artificial Intelligence in Hospitality, Tourism, Logistics, and Cultures” ณ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ นนทพจน์ ได้นำเสนอบทความวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของทุน Fundermental Fund 2567 เรื่อง ผลกระทบของอุณหภูมิที่มีต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดเชียงราย (Impact of Temperature on the Number of Thai Tourists in Chiang Rai Province) โดยมีนายกรวิชญ์ ชาวกะมุด นายธนวัตร วัจฉละอนันท์ และนางสาวสุปรียา

สุดเจ๋ง! อ.คณะสหวิทยาการ มข. ได้รับรางวัลดีเด่น 2 รางวัล จากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2567 Read More »

มหาวิทยาลัยขอนแก่นขยายความร่วมมือกับ Zhejiang University Children’s Hospitalเปิดประตูสู่นวัตกรรมการแพทย์เด็กระดับโลก

มหาวิทยาลัยขอนแก่นขยายความร่วมมือกับ Zhejiang University Children’s Hospitalเปิดประตูสู่นวัตกรรมการแพทย์เด็กระดับโลก เมื่อวันที่ 2-3  ธันวาคม 2567 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล- อธิการบดี ศ.ดร.ผิวพรรณ มาลีวงษ์- รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยรศ.นพ.ธรรศ สงวนศักดิ์- รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์ •    รศ.พญ.สุชาอร แสงนิพันธ์กูล- ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็ก คณะแพทยศาสตร์ และผศ.ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน- ผู้อำนวยการสถาบันฟีโนมแห่งชาติ พร้อมทั้งคณะ ได้เดินทางไปยัง หางโจว, ประเทศจีน เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลเด็กแห่งมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Children’s Hospital Zhejiang University School of Medicine – ZCH)  สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในความร่วมมือด้านการแพทย์และวิจัยระดับสากล โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาสุขภาพเด็กในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก โดยมีผู้บริหารและนักวิจัยชั้นนำจากทั้งสองสถาบันเข้าร่วม ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับเด็กและเยาวชน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่า “ความร่วมมือนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กในภูมิภาคเอเชีย ความร่วมมือระหว่าง KKU และ ZCH จะเป็นแบบอย่างของการพัฒนาและแบ่งปันองค์ความรู้ในระดับสากล” ด้าน Prof. Fu Junfen ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็ก มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง กล่าวเสริมว่า “การจับมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นนับเป็นโอกาสอันดีที่จะนำไปสู่การวิจัยที่ล้ำสมัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่นขยายความร่วมมือกับ Zhejiang University Children’s Hospitalเปิดประตูสู่นวัตกรรมการแพทย์เด็กระดับโลก Read More »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้อนรับคณะติดตามประเมินผลจาก วช. ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อภารกิจทางทหาร

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ ให้การต้อนรับคณะติดตาม และ ประเมินผลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในโครงการการขยายผลและทดสอบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับใช้งานในภารกิจทางทหาร ภายใต้แผนงานการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพสำหรับอุตสาหกรรมความมั่นคงและป้องกันประเทศ ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โครงการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนนี้ถือเป็นความร่วมมือสำคัญระหว่างภาคการศึกษาและภาคความมั่นคง เป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากห้องปฏิบัติการสู่การใช้งานจริงในภาคสนาม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ”   สำหรับการตรวจเยี่ยมครั้งนี้นำโดย พล.อ.ชนินทร์ จันทรโชติ และ พล.อ.สมบุญ เกตุอินทร์ พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศ.ปริญญา จินดาประเสริฐ รศ.อุดมเกียรติ นนทแก้ว และ พล.ร.ต.อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ และสำนักประสานงานโครงการอุตสาหกรรมความมั่นคงและการป้องกันประเทศ รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยดำเนินการร่วมกับกองพันทหารม้าที่ 6 ค่ายศรีพัชรินทร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้อนรับคณะติดตามประเมินผลจาก วช. ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อภารกิจทางทหาร Read More »

บุคลากรศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลบทความดีเด่นและ Best Oral Presentation จากการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2567

นางสาวบุศรา แก้วสมุทร นักวิชาการวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยด้วยการคว้ารางวัลบทความดีเด่นและ Best Oral Presentation จากเวทีการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2567 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบการเจริญของตัวอ่อนระยะ 2 เซลล์ของหนูไมซ์สายพันธุ์ ICR และ BALB/c Rag 2.Jak3 ในการเก็บรักษาสายพันธุ์สัตว์ทดลองที่เพาะเลี้ยงในศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ (R2R) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยได้นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “Generative AI ที่สร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา : นวัตกรรมความท้าทาย และภาพอนาคต” (Generative AI in Transforming Education : Innovations, Challenges, and Future Prospects) การประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น

บุคลากรศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลบทความดีเด่นและ Best Oral Presentation จากการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2567 Read More »

นักศึกษา มข.คว้ามง3 R2M รอบระดับภูมิภาค ทะยานสู่การแข่งขันระดับประเทศ

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการประกวด “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market: R2M) ครั้งที่ 12 รอบระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในช่วงพิธีเปิด ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยศาสตราจารย์อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรม กล่าวรายงาน และ รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประธีป ผู้จัดการศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการฯ มอบหมายให้ นางรุ่งทิพย์ สารวงษ์ รองผู้อำนวยการฯ เข้าร่วมพร้อมเจ้าหน้าที่ อีกทั้งมีคณะผู้บริหาร บุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วม ณ ห้องสันตรัตน์ โรงแรมตักศิลามหาสารคาม จ.มหาสารคาม

นักศึกษา มข.คว้ามง3 R2M รอบระดับภูมิภาค ทะยานสู่การแข่งขันระดับประเทศ Read More »

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มข. คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568

คณะวิทยาศาสตร์ มข. ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรประเภทวิชาการที่ได้รับรางวัล จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2568  ได้แก่ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ศ. ดร.ประสิทธิ์  ทองใบ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย  ประจำปีงบประมาณ 2568 รางวัลระดับดี  ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวัสดุเชื่อมประสานฟังก์ชันพิเศษสาหรับงานก่อสร้าง จากซีเมนต์และจีโอพอลิเมอร์” (Development of Functional Construction Binding Materials from Cement and Geopolymer) (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) สมาชิกทีมผู้ร่วมวิจัยได้แก่ 1. ศ. ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร 2. ผศ. ดร.ปัญจศีล พยัคฆนิธิ 3. ดร.ณัฐพงษ์ เชื้อวังคา 4. ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ 5. รศ. ว่าที่ร้อยตรี พงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร 6. นายดนัย ไชยโยธา (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มข. คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 Read More »

เลื่อนไปด้านบน