คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศึกษาศาสตร์ มข. ต้อนรับ มรภ.นครราชสีมา เสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ ด้านหลักสูตรและการสอน

22 มกราคม 2568 – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในโครงการ Camp มุ่งสู่เส้นชัย Ph.D. C&I ครั้งที่ 7 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม โดยมี ผศ.ดร.ปริณ ทนันชัยบุตร ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผศ.ดร.สิรินาถ จงกลกลาง ประธานสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักศึกษา ได้มีโอกาสศึกษาดูงานด้านแนวโน้มหลักสูตรและการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรวิจัยและการสอนในระดับดุษฎีบัณฑิต อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษาของทั้งสองสถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อของวิทยานิพนธ์ เครื่องมือวิจัย และแนวทางการดำเนินการวิจัย ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้และพลังทางวิชาการของทั้งสองสถาบัน โดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและหลักสูตร เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา และร่วมกันพัฒนาประเทศชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ศึกษาศาสตร์ มข. ต้อนรับ มรภ.นครราชสีมา เสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ ด้านหลักสูตรและการสอน Read More »

“หนี ซ่อน สู้” สาธิต มข. อบรมรับมือ Active Shooter สร้างมาตรฐานความปลอดภัย

8 มกราคม 2568 –  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ร่วมกับชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียน (Active Shooter)” เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินให้กับบุคลากรและนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง การปฏิบัติตามแนวทาง “หนี ซ่อน สู้ (เงียบ)” และซ้อมแผนปฏิบัติการจำลองสถานการณ์จริง ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนสาธิตและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดกิจกรรมโดยมีทีมวิทยากรนำโดย พ.ต.ท.ธนพันธ์ จันทร์เทพ รองผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 และว่าที่ พ.ต.ท.จารุทรรศน์ ไชยวาส ผู้บังคับกองร้อย กองร้อยควบคุมฝูงชน กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้และซ้อมแผนปฏิบัติการจำลองสถานการณ์เหตุกราดยิงในโรงเรียน ร่วมกับทีมวิทยากรจากศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค4 วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองเมื่อเผชิญเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียน (Active Shooter) ฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตามแผน “หนี ซ่อน สู้ (เงียบ)” เพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์จริง ซักซ้อมยุทธวิธีจำลองสถานการณ์ตามแผนปฏิบัติการ Active Shooter ของเจ้าหน้าที่ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการสร้างความปลอดภัยและเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้บุคลากรและนักเรียนสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ในการนี้ทางโรงเรียนขอขอบพระคุณวิทยากรจาก ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 4 นำโดย

“หนี ซ่อน สู้” สาธิต มข. อบรมรับมือ Active Shooter สร้างมาตรฐานความปลอดภัย Read More »

ศึกษาศาสตร์ มข. หารือ ARO Thinking เกาหลีใต้ เตรียมจัดตั้งห้องเรียน Future Education แห่งแรกในประเทศไทย

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ARO Thinking จากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อร่วมกันก่อตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมการศึกษา ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมพูดคุยกับ Mr. Kwon Yangho Managing Director ของ ARO Thinking และ Mr. Lee Jongil Thai President ร่วมประชุมหารือ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยความร่วมมือครั้งนี้เน้นการสร้างต้นแบบห้องเรียน Future Education ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พร้อมกันนี้ ยังได้ร่วมตรวจสอบพื้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะติดตั้งนวัตกรรม Thinking Play เพื่อเป็นต้นแบบ ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องการพัฒนาห้องโมเดลการเรียนรู้ (Showcase) ซึ่งจะรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัย เช่น AI Coding Academy, E-sport, English Courses, Smart Education

ศึกษาศาสตร์ มข. หารือ ARO Thinking เกาหลีใต้ เตรียมจัดตั้งห้องเรียน Future Education แห่งแรกในประเทศไทย Read More »

ศึกษาศาสตร์ มข. จับมือเอกชน หจก.สกลพิทยา ผลักดันนวัตกรรมการศึกษาสู่ห้องเรียน

25 ธันวาคม 2567 – ศูนย์นวัตกรรมการศึกษาเชิงพาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดสกลพิทยา เพื่อขยายผลงานนวัตกรรมและงานวิจัยทางการศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คุณธวัชชัย แซ่คึง ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดสกลพิทยา ในการลงนาม และ รศ.ดร.พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และวิเทศสัมพันธ์ กล่าวรายงานในการลงนามความร่วมมือ ในโอกาสเดียวกัน คณะศึกษาศาสตร์ ได้ส่งมอบชุดนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน Coding สำหรับเด็ก จำนวน 100 ชุด ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดสกลพิทยา เพื่อกระจายสู่โรงเรียนทั่วประเทศ โดยชุดนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการจัดการเรียนการสอนด้าน Coding โดยมุ่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีในกระบวนการเรียนรู้ ชุดนวัตกรรมดังกล่าวใช้ Board Game เป็นสื่อการเรียนรู้หลัก ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนาแนวคิดเชิงตรรกะและทักษะการแก้ปัญหา เตรียมความพร้อมให้เด็กไทยก้าวสู่โลกแห่ง Coding ในอนาคต รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร กล่าวเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์ของคณะที่มุ่งมั่นผลักดันงานวิจัยสู่การใช้งานจริง โดยความร่วมมือนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับการศึกษาไทยและเชื่อมโยงสถาบันการศึกษากับภาคเอกชน “วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เราได้ร่วมมือกับห้างหุ้นส่วนจำกัดสกลพิทยา มี ศูนย์นวัตกรรมการศึกษาเชิงพาณิชย์ ได้ตัวเชื่อมความร่วมมือครั้งนี้

ศึกษาศาสตร์ มข. จับมือเอกชน หจก.สกลพิทยา ผลักดันนวัตกรรมการศึกษาสู่ห้องเรียน Read More »

ศึกษาศาสตร์ มข. รับประสบการณ์ตรงจาก ITALS ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ ชูบทบาทการเรียนรู้นอกระบบพัฒนาทักษะนักสื่อสารวิทย์ยุคใหม่

21-22 ธันวาคม 2567 – คณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาการเรียนรู้ (ITALS ED) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ซึ่งจัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กิจกรรมนี้เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง (Experience-Based Learning) และการบูรณาการการเรียนรู้นอกระบบ (Informal Learning) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่เรียนรู้นอกระบบ (Informal Learning Space) ที่ผู้เรียนสามารถสำรวจ ทดลอง และโต้ตอบกับเนื้อหาที่ดึงดูดใจ นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านนิทรรศการเชิงปฏิสัมพันธ์ เช่น การเปรียบเทียบวิวัฒนาการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอดีตกับเทคโนโลยีล้ำสมัยในปัจจุบัน รวมถึงการใช้งาน AI และ Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยกระตุ้นการเรียนรู้เชิงสำรวจ (Exploratory Learning) และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดย พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศและพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ทำหน้าที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งเป็น “นักการศึกษานอกระบบ” ที่ช่วยเชื่อมโยงทฤษฎีในห้องเรียนกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระราม 9 และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้โจทย์วิจัยแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้ที่ผสานเทคโนโลยีและการสื่อสารวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน โจทย์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ในระบบ (Formal

ศึกษาศาสตร์ มข. รับประสบการณ์ตรงจาก ITALS ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ ชูบทบาทการเรียนรู้นอกระบบพัฒนาทักษะนักสื่อสารวิทย์ยุคใหม่ Read More »

นักวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัล Best Oral Presentation ในงาน PMU-B Brainpower Congress 2024

รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัล Best Oral Presentation Award จากงาน PMU-B Brainpower Congress 2024 โดยได้นำเสนอผลงานหัวข้อ “การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงในด้านเทคโนโลยี AI-generative ร่วมกับ VR/AR/MR และความรู้ด้านวิทยาการสมอง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างฟังก์ชันสมองของผู้เรียน ระหว่างความร่วมมือของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายภาคเอกชน” PMU-B Brainpower Congress 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี จัดโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Ignite Thailand: ปลดล็อกศักยภาพคนไทย จุดประกายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เพื่อส่งเสริมการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง พร้อมยกระดับเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คนจาก 80 หน่วยงาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

นักวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มข. คว้ารางวัล Best Oral Presentation ในงาน PMU-B Brainpower Congress 2024 Read More »

มข. จับมือ กสศ. ยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม 20 แห่ง สู่โรงเรียนต้นแบบพื้นที่นำร่อง

โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง นำโดย รศ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ หัวหน้าโครงการ และคณะนักวิจัยสหสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้จัดกิจกรรมถอดบทเรียนความสำเร็จและจัดนิทรรศการโรงเรียนต้นแบบพื้นที่นำร่อง จำนวน 20 แห่ง ณ ภูแก้วรีสอร์ต แอนด์แอดเวนเจอร์พาร์ค อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 30 แห่ง ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ กว่า 300 รูป/คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน สามเณรนักเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ และนักวิจัยโครงการ กิจกรรมภายในงานเริ่มด้วยประธานเปิดงานโดยได้รับความเมตตากรุณาอย่างสูงยิ่งจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพพัชราภรณ์ ประธานสำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มอบโล่ให้กับโรงเรียนต้นแบบทั้ง 20 แห่ง และกล่าวสัมโมทนียกถา ต่อด้วยกิจกรรมเปิดชั้นเรียนของครูต้นแบบ การจัดนิทรรศการของโรงเรียนต้นแบบพื้นที่นำร่อง และนำเสนอผลงานของสามเณรนักเรียน การเสวนาวิชาการหัวข้อโอกาสและก้าวต่อไปของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้คุณวุฒิจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในฐานะหน่วยงานให้การสนับสนุนงบประมาณ ได้เข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำโดยท่านกำพล ศรธนะรัตน์ อนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ท่านพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. ท่านอุดม วงษ์สิงห์

มข. จับมือ กสศ. ยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม 20 แห่ง สู่โรงเรียนต้นแบบพื้นที่นำร่อง Read More »

ศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิตฯ ร่วมต้อนรับรองนายกสภามหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ เยี่ยมชมห้องเรียนภาษาจีนสร้างความร่วมมือทางการศึกษา

28 พฤศจิกายน 2567 – คณะศึกษาศาสตร์ และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. HUANG Jie รองนายกสภามหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะผู้บริหารฯ ในโอกาสเดินทางมายังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมประชุม “คณะกรรมการบริหารร่วมสองสถาบัน ครั้งที่ 19” พร้อมกันนี้ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนสาธิตและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้บริหารและครู ร่วมให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ได้เยี่ยมชมสถานที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ พร้อมเข้าชมชั้นเรียนภาษาจีน และพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือในอนาคต โดย ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง ได้นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนให้เป็น “นักนวัตกร” ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning และโครงการบ่มเพาะนวัตกรรม เพื่อเตรียมพร้อมนักเรียนให้มีทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร กล่าวว่า “คณะศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความยินดีที่ได้ต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. HUANG Jie รองนายกสภามหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ พร้อมคณะผู้บริหารในวันนี้

ศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิตฯ ร่วมต้อนรับรองนายกสภามหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ เยี่ยมชมห้องเรียนภาษาจีนสร้างความร่วมมือทางการศึกษา Read More »

ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์ มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

25-26 พฤศจิกายน 2567 – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนามแม่ข่ายสถาบันผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย 19 สถาบัน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “The 5th Workshop of Teacher Induction: NextGen Teaching: AI Innovations in Educational Excellence” สำหรับครูผู้ช่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ในนามประธานแม่ข่าย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “AI for Lifelong Educators: เสริมพลังครูในยุคการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด” และในอีกหัวข้อ “ครูควรใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ออกแบบจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร จึงถูกหลักวิชาการและจริยธรรมวิชาชีพ” โดย ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ รองประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร กล่าวถึงความสำคัญของการใช้ AI ในการพัฒนาการศึกษา โดยเน้นว่า “AI เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของครู และเสริมสร้างความสามารถให้กับเด็กไทยในการแข่งขันในระดับสากล ครูทุกคนควรใช้ AI เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยการอบรมได้มีการแยกกลุ่มอบรมการใช้เครื่องมือ AI ในการช่วยจัดทำสื่อและแผนการสอนให้กับครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม Smart Teacher 1-7 ที่ครอบคลุมทั้งการศึกษาในกลุ่มสาระต่าง ๆ

ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์ มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ Read More »

เตรียมเปิดอาคารใหม่ สาธิตฯ นานาชาติ อนุบาลศึกษา เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คุณภาพ

20 พฤศจิกายน 2567 – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ ได้มีการตรวจรับอาคารใหม่ที่ปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพื่อรองรับการเรียนการสอนในระดับ “อนุบาลศึกษา” อย่างโดยมีจาก รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์, รศ.ดร.ปิยะวัชร ฝอยทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม, และ ผศ.ดร.ศราวุธ จักรเป็ง รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนสาธิตและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมตรวจรับและสำรวจความพร้อมของอาคาร อาคารที่ปรับปรุงใหม่นี้ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยอนุบาล โดยมุ่งเน้นที่ความปลอดภัย ความทันสมัย และการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบบูรณาการ โครงสร้างและการตกแต่งภายในของอาคารใช้สีสันสดใสและวัสดุที่เป็นมิตรกับเด็ก พร้อมทั้งมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และเล่นอย่างลงตัว รวมถึงห้องเรียนที่รองรับการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “อาคารใหม่ของเราถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์แนวคิด Creative Play-Based Learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยจินตนาการ เด็ก ๆ จะได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกันผ่านสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่การเรียนในห้องเรียน แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายสำหรับเด็ก โดยเรามุ่งหวังให้นักเรียนของเราเติบโตเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ในทุกมิติของชีวิต นอกจากนี้ การนำแนวทาง Creative Play-Based Learning มาใช้ ยังช่วยสนับสนุนพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ๆ เราออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัย โดยผสมผสานความรู้

เตรียมเปิดอาคารใหม่ สาธิตฯ นานาชาติ อนุบาลศึกษา เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คุณภาพ Read More »

เลื่อนไปด้านบน