Porntip Khamdee

นักศึกษาแชร์ไอเดียแต่งห้องพักเล็กๆ เป็น Comfort Zone ในสไตล์ที่ตัวเองชอบ

สำนักข่าว: sanook URL: https://www.sanook.com/home/26501/ วันที่เผยแพร่: 2 ส.ค. 2563 ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยบางคนอาจมีโอกาสได้สัมผัสชีวิตเด็กหอ หรือการแชร์บ้าน ห้องพักร่วมกับเพื่อนๆ หรือรูมเมท เจ้าของเพจเฟชบุ๊ก Smart XI (สมาร์ท) ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้โพสต์ภาพเพื่อแชร์ไอเดียการตกแต่งห้องพักส่วนตัวเล็กๆ ลงในเฟชบุ๊ก จากห้องโล่งๆ เปลี่ยนเป็นห้องพักในสไตล์ที่ตนเองชอบ หรือ Comfort Zone ส่วนตัว ดเริ่มต้นเจ้าของห้องเริ่มจากห้องพักเปล่าที่มีขนาดประมาณ 3 X 3.5 เมตร เจ้าของห้องขนของจากที่บ้านเข้ามาเพิ่ม และตกแต่งในห้องบ้าง แต่ไม่มาก กำลังสำคัญที่เข้ามาช่วยคือเพื่อนสนิท 2 คน ที่ทั้งพาไปซื้อของและประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในห้อง สำหรับห้องพักของนักศึกษาหนุ่มคนนี้ดูเรียบง่าย แต่ไม่ทิ้งความเป็นธรรมชาติ เพราะมีการนำต้นไม้มาตกแต่งเพิ่มเติม พื้นที่ที่ใช้พักผ่อนเป็นฟูกนอน ส่วนอีกมุมใกล้ๆ กันเป็นมุมนั่งชิล ด้านที่ติดกับหน้าต่างมีโต๊ะเล็กๆ วางแคคตัส ไม้ประดับ ไม้ฟอกอากาศ ฯลฯ เสริมบรรยากาศให้ห้องสดชื่น และมีความเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น ดยเจ้าของห้องได้ไอเดียการตกแต่งห้องมาจาก Pinterest เพจออกแบบและตกแต่งบ้านต่างๆ จากนั้นก็ซื้อของมาตกแต่งในสไตล์ที่เป็นตัวเอง และของส่วนใหญ่ก็ซื้อจาก Homepro เรียกได้ว่าลงตัว ถูกใจเจ้าของห้อง

นักศึกษาแชร์ไอเดียแต่งห้องพักเล็กๆ เป็น Comfort Zone ในสไตล์ที่ตัวเองชอบ Read More »

การศึกษา – มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม ‘เอไอ’คัดกรองโรคแม่นยำ-รองรับ‘เมดิคอล ฮับ’

สำนักข่าว: ข่าวสดออนไลน์ URL: https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_4633876 วันที่เผยแพร่: 3 ส.ค. 2563 มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม – รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า มข.ได้จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี : ปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) เพื่อความเป็นเลิศด้านการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยมีคณาจารย์นักวิชาการจากคณะวิชาต่างๆ จากมข. มหา วิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) สถาบันภายในประเทศ และ ภาคเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวต่อว่า เรื่องของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือเอไอ จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในทุกมิติ แต่สำหรับการประชุมในครั้งนี้เน้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพหรือ เฮลท์แคร์ ด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งคือการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำลังดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ หรือเมดิคอล ฮับ ที่กำลังมีการก่อสร้างอาคารและการขยายผลการดำเนินการ สำหรับในวงการแพทย์แล้วปัญญาประดิษฐ์มีความเกี่ยวข้องในหลายด้าน เช่น การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เรื่องของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งการวินิจฉัยโรคที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย เช่น การอ่านชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา การอ่านฟิล์มเอกซเรย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถที่สูง ช่วยลดความผิดพลาดและแปลผลได้อย่างละเอียดแม่นยำ นอกจากนี้ยังรวมถึง แมชชีน

การศึกษา – มข.-มหา’ลัยดังพัฒนานวัตกรรม ‘เอไอ’คัดกรองโรคแม่นยำ-รองรับ‘เมดิคอล ฮับ’ Read More »

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’

สำนักข่าว: ประชาไท URL: https://prachatai.com/journal/2020/08/88889 วันที่เผยแพร่: 3 ส.ค. 2563 นักวิชาการเผยสถานการณ์ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ พบภาคอีสาน 15 จังหวัด มีโรงไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท หวั่นชาวบ้านอ่วมสารเคมี เหตุแผนพลังงานทดแทนฯ เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีกกว่า 6 ล้านไร่ ด้าน สช.ผนึกภาคีจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 3 ส.ค.2563 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า สช. จัดเวทีนำเสนอ “ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) กรณีการผลิตไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ ผลกระทบ และข้อจำกัด ซึ่งจะนำไปประกอบการจัดทำนโยบายสาธารณะ และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเชิงบวกและลบ รวมถึงปัจจัยทางสังคมที่ผลกระทบต่อสุขภาพ (ปัจจัยกำหนดสุขภาพ) โดยจะใช้ข้อมูลจากแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง สุทธิพงษ์ กล่าวว่า ในกระบวนการจัดทำ HIA จะมีการนำเครื่องมือที่หลากหลายเข้ามาช่วยวิเคราะห์ มีการนำกระบวนการการมีส่วนร่วมของพื้นที่เข้ามาใช้ มีการคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบโดยมีปัจจัยกำหนดสุขภาพของพื้นที่เป็นตัวกำหนด ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีทางเลือกหลากหลายทิศทาง และทางเลือกเหล่านั้นก็จะนำไปสู่การตัดสินใจว่าจะเลือกทางเลือกใด ในส่วนของข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งผ่านการขัดเกลาและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากในพื้นที่มาเป็นระยะแล้วนั้น เมื่อผ่านการพูดคุยและให้มุมมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต่อไป” สุทธิพงษ์ กล่าว ถัดจากนั้น ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ โดย วิจิตรา ชูสกุล ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาอีสาน กล่าวถึงสถานการณ์พลังงานในพื้นที่ภาคอีสานว่า ส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานชีวมวล ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท กระจายตัวอยู่ใน 15 จังหวัด มีกำลังการผลิตติดตั้ง 948.55 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตที่ขาย 595.13 เมกะวัตต์ ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองที่ตั้งไว้ 15% นั้น ทุกวันนี้ภาคอีสานมีอยู่กว่า 47% โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ Read More »

“มข.”ดัน!”จิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต”

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL:https://www.banmuang.co.th/news/region/201360 วันที่เผยแพร่: 4 ส.ค. 2563 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่โรงแรมโฆษะ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการประชุมวิชาการจิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยมี ข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ ภาคีเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ และภาคประชาชน ร่วมงานจำนวน 100 คน โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลง โดยเน้นที่จิ้งหรีดเป็นสำคัญ แนวทางส่งเสริมการยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนจากแมลง ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาซึ่งมุ่งเน้นแนวทางการยกระดับเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มปลอดภัย ถือเป็นการสร้างกระแสการรับรู้ประโยชน์ของจิ้งหรีดที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ให้เป็นแหล่งอาหารแห่งอนาคต ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย  อธิการบดี มข. ประธานในพิธีกล่าวเปิดการประชุมว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการจิ้งหรีดอีสานครั้งที่ 2 ในวันนี้ และขอขอบคุณสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้จัดการประชุมวิชาการ และได้รับความสนใจจากผู้เข้าประชุมจำนวนมาก เป็นที่ทราบชัดเจนว่า อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลงเป็นอาหารแห่งอนาคตที่มีลู่ทางแจ่มใสในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและประชาชนในภาคอีสานมีความรู้ความชำนาญ คุ้นชิน นิยมบริโภคมานาน เป็นองค์ความรู้ของพื้นถิ่น

“มข.”ดัน!”จิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต” Read More »

กรมพัฒนาธุรกิจฯ เดินหน้าดึงคนรุ่นใหม่ประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์-มอ.โชว์ผลงานเด่นซิวแชมป์

สำนักข่าว: RYT9 URL: https://www.ryt9.com/s/prg/3147874 วันที่เผยแพร่: 6 ส.ค. 2563 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าดึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กลุ่มนิสิต/ นักศึกษา และกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน เข้าร่วมโครงการ DBD Boost UP Online # จับมือ จับเม้าส์ เข้าสู่ออนไลน์ ซึ่งเป็นโครงการประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย (Thailand E-commerce Pitching Contest 2020) โดยงานได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมคนรุ่นใหม่หันมาทำการค้าขายผ่านออนไลน์ เพื่อให้ทันต่อโลก และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อของบนออนไลน์มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาได้แบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 รอบคัดเลือก (คัดเลือกจากคลิป VDO Presentation และเอกสารนำเสนอผลงาน) และรอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ (คัดเลือกจากการนำเสนอแผนธุรกิจด้วยตนเอง จำนวน 15 ทีม) โดยทีมชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ทีมสลีปเปอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กรมพัฒนาธุรกิจฯ เดินหน้าดึงคนรุ่นใหม่ประกวดสินค้าชุมชนออนไลน์-มอ.โชว์ผลงานเด่นซิวแชมป์ Read More »

“นกน้อย อุไรพร” นำ 22 คณะหมอลำชื่อดัง แถลงห้ามผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเผยแพร่ทำซ้ำ ดัดแปลงลงในสื่อโซเชียลทั้งเชิงพาณิชย์และสร้างความเสียหาย

สำนักข่าว: สยามรัฐ URL: https://siamrath.co.th/n/174797 วันที่เผยแพร่: 5 ส.ค. 2563 เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 5 ส.ค.63 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. พร้อมด้วย ชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน 22 คณะหมอลำชื่อดัง นำโดย นางอุไร ฉิมหลวง หรือ นกน้อย อุไรพร ผู้บริหารหมอลำคณะเสียงอีสาน และประธานชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน ร่วมออกแถลงการณ์เรื่องการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ของคณะหมอลำในชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน เนื่องจากปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง FACEBOOK ,LINE ,YOUTUBE และสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆมีบทบาทในการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีระบบการดำเนินงานธุรกิจและสื่อประขาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆผ่านสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวซึ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก และผลงานของชมรมคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ทางชมรมฯเป็นผู้ทรงสิทธิ์ทางกฎหมาย จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อขอความร่วมมือให้พี่น้องประชาชนและแฟนเพลงทุกคนได้ดำเนินการตามแถลงการณ์จำนวน 4 ข้อเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ประกอบด้วย 1.อนุญาตให้เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ภาพนิ่งศิลปินหรือการแสดงหน้าเวทีหรือผลงานอันมีสิทธิ์อื่นๆที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับศิลปินและทางคณะหมอลำ แต่ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่งของศิลปิน การแสดงของวงหมอลำ หรือกิจกรรมอื่นใดของวงหมอลำที่ไม่เหมาะสม โดยที่ภาพดังกล่าวอาจนำไปสู่ความเสียหายกับศิลปินหรือวงหมอลำ 2.อนุญาตให้เผยแพร่ คลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาทีในสื่อออนไลน์ที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเป็นคลิปวีดีโอที่ไม่ก่อความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเป็นการละเมิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับทางศิลปินและคณะหมอลำ หากผู้ใดมีความประสงค์จะเผยแพร่ ผลงานการแสดงหน้าเวทีหรือกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการแสดงของคณะหมอลำที่เป็นสมาชิกในภาคีเครือข่ายหมอลำเรื่องต่อกลอนในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหวในสื่อออนไลน์ใดๆ

“นกน้อย อุไรพร” นำ 22 คณะหมอลำชื่อดัง แถลงห้ามผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเผยแพร่ทำซ้ำ ดัดแปลงลงในสื่อโซเชียลทั้งเชิงพาณิชย์และสร้างความเสียหาย Read More »

ครั้งแรกในโลก! นศ.มข.สร้าง mobile application เครื่องมือช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยสอดท่อช่วย

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/region/201457 วันที่เผยแพร่: 5 ส.ค. 2563 ครั้งแรกในโลก ! นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มข. จับมือ แพทย์ สร้าง mobile application เครื่องมือช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงว่าผู้ป่วยสอดท่อช่วย หายใจยาก หรือ ง่าย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ช่วยชีวิตได้เร็วขึ้น เมื่อวันที่ 5 ส.ค. อ.นพ.ปริวัฒน์ ภู่เงิน อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ Difficult Airway Detection Application (DI Detection App) ว่า application ดังกล่าวเกิดจาก การศึกษาพัฒนาร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.วนิดา แก่นอากาศ  นายสิรวิชญ์ ศรีสุริยานุกูล และนายสิรภพ จารุธัญลักษณ์ ซึ่งจากการศึกษาวรรณกรรมเกี่ยวกับ mobile application in health care ยังไม่พบงานวิจัยแบบนี้เกิดขึ้น ฉะนั้นโปรเจคนี้จึงเป็นครั้งแรกของโลก ในการสร้างเครื่องมือในลักษณะ mobile

ครั้งแรกในโลก! นศ.มข.สร้าง mobile application เครื่องมือช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยสอดท่อช่วย Read More »

นศ.ม.ขอนแก่นชนะเลิศประกวดคลิป“ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์”

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/education/200967 วันที่เผยแพร่: 1 ส.ค. 2563 างสาวเบญจรัตน์  กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้ารับโล่รางวัลชนะเลิศ และเงินรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จากการประกวดคลิปสั้น ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ  ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ณ หอประชุมเล็ก กระทรวงวัฒนธรรม   สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย รศ.ดร.ตรีศิลป์  บุญขจร  นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดการประกวดคลิปสั้นวันภาษาไทยแห่งชาติ 2563  ภายใต้โครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์” ขึ้น  โดยแบ่งออกเป็นการประกวดคลิปสั้นขึ้น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป  และประเภทนักเรียน  ซึ่งผลการประกวดประเภทอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปนั้น  นางสาวเบญจรัตน์  กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นผู้ชนะเลิศ  ได้รับโล่และเงินรางวัลจาก นายอิทธิพล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ  ณ หอประชุมเล็ก กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร   นางสาวเบญจรัตน์ กวีนันทชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  “แนวคิดในการทำคลิปสั้น ‘ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์’ ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ เนื่องจากชอบการ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นทุนเดิม ประกอบกับการเรียนในสาขาวิชาภาษาไทย จึงอยากเผยแพร่ความรู้ในด้านภาษา วรรณศิลป์ ให้กับเยาวชน ผ่านการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และสามารถเข้าใจได้ง่าย  หวังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ร่วมกันสืบสานงานด้านวรรณศิลป์ ให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป รักภาษาไทย ใส่ใจวรรณศิลป์ ปัญญาแห่งแผ่นดิน วิถีใหม่ต้องไม่ลืม”

นศ.ม.ขอนแก่นชนะเลิศประกวดคลิป“ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์” Read More »

“มข.” จัดพิธีทำบุญ เปิดโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/region/200975 วันที่เผยแพร่: 1 ส.ค. 2563 เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีทำบุญประกอบกิจการ โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ, รศ.ดร.ไมตรี อินประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ผู้บริหาร ,หัวหน้าโครงการ บุคลากร และแขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมกันถวายภัตตาหารเช้า และเครื่องสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยได้รับเมตตาจากพระครูเมตตากิตติคุณ (หลวงตาสมหมาย อัตตมโน) พร้อมคณะสงฆ์ รวม 9 รูป ออกรับบิณฑบาต และเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินการกิจการของโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน รศ.นพ.ชาญชัย  อธิการบดี มข.กล่าวว่าโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรงงานต้นแบบการผลิต “นาโนซิลิกอน” จากแกลบและเถ้าแกลบเพื่อใช้ในขั้วแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอนถึง 12 เท่า ซึ่งมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา สามารถกักเก็บพลังงานได้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประจุไฟใหม่อื่น ๆ

“มข.” จัดพิธีทำบุญ เปิดโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน Read More »

มข.มีความเป็นเลิศทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

สำนักข่าว: ศูนย์ข่าวนครขอนแก่นออนไลน์ URL: http://www.smilefm101.com/archives/1489 วันที่เผยแพร่: 25 ก.ค. 2563 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี : ปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) เพื่อความเป็นเลิศด้านการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน จากนั้น เป็นปาฐกถา(Online) ในหัวข้อ “Will AI Change the World and Thailand: Healthcare Perspectives” โดย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภายในงานยังมี รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ

มข.มีความเป็นเลิศทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยการใช้นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพ (AI for Healthcare) ผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ Read More »

เลื่อนไปด้านบน