Porntip Khamdee

มข. คิดค้นเครื่อง NIR ช่วยเกษตรกรวัดคุณภาพมันสำปะหลัง รู้ผลทันที

สำนักข่าว: แนวหน้า URL: https://www.naewna.com/local/504848 วันที่เผยแพร่: 12 ก.ค. 2563 12 กรกฎาคม 2563 ผศ.ดร.เจษฎา โพธิ์สม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ได้คิดค้นเครื่อง NIR หรือเครื่องวัดคุณภาพมันสำปะหลังอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่ทำไร่มันสำปะหลัง ลดภาระในการขุดหัวมันเพื่อมาทดสอบคุณภาพของหัวมัน โดยเครื่อง NIR นี้ เกษตรกร สามารถที่จะถือเข้าไปในสวนแปลงที่ปลูกมันสำปะหลังและวัดคุณภาพของหัวมันสำปะหลังโดยไม่ต้องขุดหัวมันขึ้นมา ผศ.ดร.เจษฎา โพธิ์สม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร เปิดเผยว่า  ทีมนักวิจัย ต้องการสร้างเครื่องที่วัดคุณภาพมันสำปะหลังได้อย่างรวดเร็วให้กับเกษตร โดยเครื่องที่ถูกพัฒนาขึ้น จะต้องเป็นเครื่องที่สามารถพกพาเข้าไปในแปลงมันสำปะหลังและวัดคุณภาพมันสำปะหลังได้เลย โดยที่ไม่ต้องมีการขุดหัวมันขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาเราพบปัญหาว่า การวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง เกษตรกรจำเป็นต้องขุดมันขึ้นมาประมาณ 5 กิโลกรัม และต้องทำลายต้นก่อนที่จะรู้ว่ามีเปอร์เซ็นต์แป้งเท่าไหร่ แต่ถ้ามีเครื่องที่ทีมนักวิจัยผลิตขึ้นมา จะสามารถวัดคุณภาพมันสำปะหลังได้ทันที ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อเกษตรที่ต้องการวัดคุณภาพมันสำปะหลังก่อนที่จะขุดเพื่อนำไปจำหน่าย หรือเป็นประโยชน์ต่อโรงงานหรือผู้รับเหมาที่ต้องการเหมาซื้อมันสำปะหลังยกแปลง เพื่อที่จะตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะตกลงราคาสินค้า โดยเครื่อง NIR เป็นเครื่องมือ สำหรับวัดคุณภาพวัสดุ ที่ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นวัสดุทางผลผลิตทางการเกษตร ที่สามารถนำมาวัดค่าได้  ประโยชน์ของเครื่อง NIR นี้ สามารถวัดมันสำปะหลังได้แบบไม่ต้องทำลายตัวอย่าง วัดคุณภาพ มันสำปะหล้งได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำพร้อมทั้งไม่ใช้สารเคมีอีกทั้งราคาต้นทุนในการวิเคราะห์ต่อ 1 ตัวอย่างมีราคาถูก สร้างประโยชน์และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้จริง สำหรับเครื่องอินฟราเรดย่านใกล้ (Near […]

มข. คิดค้นเครื่อง NIR ช่วยเกษตรกรวัดคุณภาพมันสำปะหลัง รู้ผลทันที Read More »

มข.ดึงภาคีเครือข่ายผู้เลี้ยงจิ้งหรีดอีสาน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ

สำนักข่าว: แนวหน้า URL: https://www.naewna.com/local/507285 วันที่เผยแพร่: 24 ก.ค. 2563 ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมวิชาการจิ้งหรีดอีสานสู่อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยมี ข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ ภาคีเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ และภาคประชาชน ร่วมงานจำนวน 100 คน โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุม รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลง โดยเน้นที่จิ้งหรีดเป็นสำคัญ แนวทางส่งเสริมการยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนจากแมลง ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับสู่มาตรฐานฟาร์มปลอดภัย ถือเป็นการสร้างกระแสการรับรู้ประโยชน์ของจิ้งหรีดที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ให้เป็นแหล่งอาหารแห่งอนาคต รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เป็นที่ทราบชัดเจนว่า อุตสาหกรรมอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลงเป็นอาหารแห่งอนาคตที่มีลู่ทางแจ่มใสในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและประชาชนในภาคอีสานมีความรู้ความชำนาญ คุ้นชิน นิยมบริโภคมานาน เป็นองค์ความรู้ของพื้นถิ่น ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสมัยใหม่ นับว่าเป็นโอกาสอย่างยิ่งที่จะยกระดับ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรภาคอีสาน อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม และรายได้ให้ต่อเนื่องและยั่งยืน หากสามารถบูรณาการกระบวนการทำงานทั้งภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด และภาคปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอาหารให้การสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานความร่วมมือเพื่อบูรณาการในประเด็นสำคัญ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น

มข.ดึงภาคีเครือข่ายผู้เลี้ยงจิ้งหรีดอีสาน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ Read More »

มข.ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ หนุนพื้นที่จัดงาน’มหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8′

สำนักข่าว: แนวหน้า URL: https://www.naewna.com/local/512050 วันที่เผยแพร่: 16 ส.ค. 2563 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563 ที่ห้องสารสิน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8” (I-SAN BOOK FAIR 2020) และงาน I-SAN STATIONARY FAIR 2020  โดยมี นายวรทัศน์ ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น , นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริ รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น , น.ส.ฐาปนี โปร่งรัศมี อุปนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) และนางศรีสุภรณ์ ชมศรีหาราชพร รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น ร่วมแถลงข่าว รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาเปิดพื้นที่เพื่อให้เยาวชนมีแหล่งเรียนรู้ที่เสริมสร้างองค์ความรู้ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตามนโยบาย ประชาคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (People) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้การสนับสนุนพื้นที่จัดงานมาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชีวิตอย่างไม่สิ้นสุด งานมหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8

มข.ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ หนุนพื้นที่จัดงาน’มหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8′ Read More »

มหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8 (I-SAN BOOK FAIR 2020)

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/education/202328 วันที่เผยแพร่: 13 ส.ค. 2563 นายวรทัศน์ ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น  สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) สสปน.(TCEB) สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน  แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8 (I-SAN BOOK FAIR 2020) และงานมหกรรมเครื่องเขียนภาคอีสานครั้งที่ 3 (I-SAN STATIONARY FAIR 2020) ภายใต้แนวคิด  “สร้างสังคมอีสาน สู่สังคมรักการอ่าน” และปีนี้กำหนด Theme ในการจัดงานเป็น “อ่านสร้างคน เขียนความสุข”เพราะนำงานมหกรรมเครื่องเขียนภาคอีสานเข้ามาร่วมจัดในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยภายในงานจะมีพบกับกิจกรรมต่างๆมากมาย ได้แก่ช โซนที่ 1 เป็นนิทรรศการการเรียนรู้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคการศึกษาในพื้นที่ นำมาจัดแสดงและมีกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษาได้ร่วมสนุกและเรียนรู้ร่วมกัน

มหกรรมหนังสือภาคอีสาน ครั้งที่ 8 (I-SAN BOOK FAIR 2020) Read More »

อาจารย์มข.คว้าแชมป์ “FameLab Thailand 2020” สุดยอดนักสื่อสารวิทย์เข้าชิงเวทีโลก

สำนักข่าว: สยามรัฐ URL: https://siamrath.co.th/n/174453 วันที่เผยแพร่: 13 ส.ค. 2563 รศ.ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวชุติคุณ กาญจนรัชต์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และ ทพ.ปราโมทย์ ลาภพิเชษฐไพบูลย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ได้เข้าร่วมการแข่งขัน “FameLab Thailand 2020”  ซึ่ง บริติช เคานซิล ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มทรู สวทช. สวทน. อพวช. และเดอะ สแตนดาร์ด ร่วมจัดขึ้น  เป็นการแข่งขันนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์บนเวทีระดับโลก ปีที่ 5 ในประเทศไทย เพื่อร่วมค้นหาสุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขัน ณ สหราชอาณาจักร โดยจัดการแข่งขันขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ของ British Council Thailand หรับโครงการ FameLab เป็นการแข่งขันการนำเสนอทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก  โดยแข่งขันการนำเสนอทางด้านวิทยาศาสตร์ประจำปี ซึ่งจัดขึ้นในหลายประเทศทั่วทุกมุมโลก และได้สร้างคุณประโยชน์แก่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวนนับไม่ถ้วน ผู้เข้าแข่งขันจะได้ใช้เวลา 3 นาทีในการบอกเล่าเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน ถูกต้อง กระชับและได้ใจความ ต่อหน้าคณะกรรมการและผู้ฟัง โดยผู้เข้าแข่งขันจะมีโอกาสเป็นตัวแทนการแข่งขันในระดับนานาชาติและสร้างเครือข่ายจากคนในแวดวงการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ การแข่งขันเริ่มต้นจากการแข่งขันผ่านทาง VDO โดยส่งเรื่องราววิทยาศาสตร์ หรือหัวข้องานวิจัยของคุณภายใน 3 นาทีผ่านทางวิดีโอ จากนั้นผู้ที่ได้รับขัดเลือดจะได้เข้ามาแข่งขันคัดเลือกระดับภูมิภาค (Regional Heat) ที่ขอนแก่น และกรุงเทพฯ

อาจารย์มข.คว้าแชมป์ “FameLab Thailand 2020” สุดยอดนักสื่อสารวิทย์เข้าชิงเวทีโลก Read More »

“กรมธนารักษ์” ศึกษาดูงาน มข.การใช้ที่ราชพัสดุ ภายใต้โครงการ “ธนารักษ์สัญจร”

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/region/202503 วันที่เผยแพร่: 14 ส.ค. 2563 COLA KKU ชู “ขอนแก่นโมเดล” ต้นแบบความร่วมมือระหว่างรัฐและท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง Smart City ต่อคณะผู้บริหารจากกรมธนารักษ์ภายใต้โครงการ “ธนารักษ์สัญจร” เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ ห้องประชุมพีรสิทธิ์  คำนวณศิลป์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับคณะศึกษาดูงานรใช้ที่ราชพัสดุ ภายใต้โครงการ “ธนารักษ์สัญจร”โดยมีนายยุทธนา  หยิมการุณ  อธิบดีกรมธนารักษ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากกรมธนารักษ์ จำนวน 120 คน เข้าศึกษาดูงาน ในการนี้มีนายสุรเดช  ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มข .และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง ร่วมงานบรรยาย ภายในงานนายสุรเดช  ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ฯ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง

“กรมธนารักษ์” ศึกษาดูงาน มข.การใช้ที่ราชพัสดุ ภายใต้โครงการ “ธนารักษ์สัญจร” Read More »

มข.เวิร์กช็อปวิธีควบคุมโรคด้วยสารชีวภัณฑ์จากเชื้อแบคทีเรียบีเอสให้เกษตรกร

สำนักข่าว: มติชนออนไลน์ URL: https://www.matichon.co.th/education/news_2309954 วันที่เผยแพร่: 16 ส.ค. 2563 ศ.ดร.เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) หัวหน้าคณะวิทยากร กล่าวตอนหนึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของแบคทีเรียบีเอส ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มข.จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยระบบผสมผสานสำหรับเกษตรกร ที่ ต.บ้านโต้น อ.พระยืน จ.ขอนแก่น มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม 40 คน โดยมี นักศึกษาปริญญาโท 5 คน ปริญญาเอก 1 คน เข้าร่วมดำเนินการอบรมด้วย โดยใช้สถานที่แปลงผักปลอดภัย ต.บ้านโต้ นเป็นสถานที่เรียนรู้กระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ร่วมกับเกษตรกร ทั้งนี้ เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยไม่ทำความเสียหายให้กับพืช มีความสามารถในการแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าเชื้อจุลินทรีย์อื่น และสร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ทำให้เชื้อโรคพืชลดการทำลายพืช และทำลายเชื้อโรคพืชทำให้ลดปริมาณเชื้อโรคพืช เชื้อบีเอสสามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชิดทั้งเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยว โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรกโนส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าและโรคแคงเกอร์ ศ.ดร.เพชรรัตน์กล่าวอีกว่า การอบรมครั้งนี้

มข.เวิร์กช็อปวิธีควบคุมโรคด้วยสารชีวภัณฑ์จากเชื้อแบคทีเรียบีเอสให้เกษตรกร Read More »

มข.คว้าชัย FameLab Thailand 2020

สำนักข่าว: บ้านเมือง URL: https://www.banmuang.co.th/news/education/202622 วันที่เผยแพร่: 15 ส.ค. 2563 รศ.ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวชุติคุณ กาญจนรัชต์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และ ทพ.ปราโมทย์ ลาภพิเชษฐไพบูลย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ได้เข้าร่วมการแข่งขัน “FameLab Thailand 2020”  ซึ่ง บริติช เคานซิล ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มทรู สวทช. สวทน. อพวช. และเดอะ สแตนดาร์ด ร่วมจัดขึ้น  เป็นการแข่งขันนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์บนเวทีระดับโลก ปีที่ 5 ในประเทศไทย เพื่อร่วมค้นหาสุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขัน ณ สหราชอาณาจักร โดยจัดการแข่งขันขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ของ British Council Thailand สำหรับโครงการ FameLab เป็นการแข่งขันการนำเสนอทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก  โดยแข่งขันการนำเสนอทางด้านวิทยาศาสตร์ประจำปี

มข.คว้าชัย FameLab Thailand 2020 Read More »

มข. ทีมนักวิจัย ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานประชุมเสวนา “การจัดตั้งภาคีเครือข่ายพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย”

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมนักวิจัย ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานประชุมเสวนา “การจัดตั้งภาคีเครือข่ายพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จัดงานประชุมเสวนา “การจัดตั้งภาคีเครือข่ายพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย” (Thailand Energy Strorage Technology Alliace) หรือ TESTA ในวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม X04AB ชั้น 10 อาคารเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่นนำทีมโดย รศ.ดร.วิทยา อมรกิจบำรุง รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อบรรยายถึงที่มาและแนะนำภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยภายในงานได้มีการเสวนาเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์ระบบกักเก็บพลังงานของประเทศไทย โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ดร.ทวารัฐ

มข. ทีมนักวิจัย ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานประชุมเสวนา “การจัดตั้งภาคีเครือข่ายพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย” Read More »

นักวิจัย ม.ขอนแก่น กับงานวิจัย เปลี่ยนวุ้นมะพร้าวเป็นโฟมคาร์บอนดูดซับคราบน้ำมัน คว้ารางวัลสุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ “เฟมแล็บ ไทยแลนด์ 2020”

สำนักข่าว: ไลน์ทูเดย์ URL: shorturl.at/loIY2 วันที่เผยแพร่: 10 ส.ค. 2563 ผ่านไปแล้วกับเวทีการแข่งขันสื่อสารวิทยาศาสตร์ประจำปี FameLab Thailand 2020 ที่ในปีนี้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร ได้คว้าแชมป์สุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ประจำประเทศไทยในปีนี้ พร้อมกับทุนวิจัยของรางวัล Research Award ไปครอง เตรียมเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งในรอบชิงชนะเลิศระดับนานาชาติ FameLab International 2020 ที่ในปีนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ รศ.ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร หรือ อาจารย์ดิว นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ ผู้สนใจด้านโลหะวิทยา และอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล่าถึงหัวข้อที่นำมาแข่งขันในครั้งนี้ “โฟมคาร์บอนนาโนสำหรับดูดซับคราบน้ำมันจากแหล่งน้ำเสีย” (Carbon Nano-Sponge for Oil Sorption from Polluted Water) ว่า ปัญหาเรื่องคราบน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำเป็นปัญหาใหญ่มากของโลก พบทั้งในทะเล ในมหาสมุทร หรือแม้แต่ในแม่น้ำ อันเกิดจากการเทของเสียที่มีส่วนผสมของน้ำมันลงแหล่งน้ำโดยไม่ได้ผ่านการกรองหรือบำบัด ปัญหานี้มีนักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจและพยายามหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยจากงานวิจัยที่ผ่าน ๆ มาจะพบว่า คาร์บอนมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในส่วนงานวิจัยของผมเองจึงทดลองนำแบคทีเรียเซลลูโลสวุ้นมะพร้าวมาแปรสภาพเป็นโฟมคาร์บอน โดยทำให้มีโครงสร้างแบบนาโน คือข้างในเป็นเหมือนโฟม มีโพรงอากาศเล็ก ๆ อยู่มากมายเพื่อประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมัน

นักวิจัย ม.ขอนแก่น กับงานวิจัย เปลี่ยนวุ้นมะพร้าวเป็นโฟมคาร์บอนดูดซับคราบน้ำมัน คว้ารางวัลสุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ “เฟมแล็บ ไทยแลนด์ 2020” Read More »

เลื่อนไปด้านบน