ชาลี พรหมอินทร์

มข. จับมือ ธนาคารออมสิน เปิดตัว 5 โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568

         สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมนำเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน ภายใต้โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารออมสิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมดุสิตา ชั้น 5 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า “นับเป็นโอกาสอันดีที่สำนักบริการวิชาการได้รับความไว้วางใจจากธนาคารออมสินให้เป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือกับคณะต่างๆ โดยปีนี้ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประกอบอาหาร คณะเทคโนโลยี มาร่วมบูรณาการการเรียนการสอนควบคู่กับการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมในท้องถิ่น ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงแล้ว ยังช่วยยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” ด้าน คุณศราวุธ สุขเลิศตระกูล ผู้อำนวยการเขตขอนแก่น 1 ธนาคารออมสิน กล่าวว่า “ธนาคารออมสินมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาชุมชนใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การนำองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยไปต่อยอดให้ชุมชน การสนับสนุนแหล่งเงินทุน การส่งเสริมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจชุมชน และการจัดหาพื้นที่แสดงสินค้าผ่านตลาดนัดชุมชนออมสิน […]

มข. จับมือ ธนาคารออมสิน เปิดตัว 5 โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 Read More »

ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา

                    รองศาสตราจารย์ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์  ร่วมถกแนวทางรับมือวิกฤตภัยแล้งและน้ำท่วม ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน  รองศาสตราจารย์ศุภสิทธิ์ ดร.คนใหญ่ รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรน้ำจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นายสุภัทรดิศ ราชธา ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ และ นายภัทรพล ณ หนองคาย ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินด้านการจัดการภัยพิบัติระดับชาติ วุฒิสภา โดยมี พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร เป็นประธาน ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 327 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา การประชุมครั้งสำคัญนี้มุ่งเน้นการหารือเกี่ยวกับ “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ” โดยเฉพาะในประเด็นการก่อสร้างฝายเพื่อชะลอ ดัก กัก เก็บน้ำบนพื้นที่สูง อันเป็นแนวทางสำคัญในการบรรเทาวิกฤตการณ์น้ำท่วมและภาวะแล้งที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ๋ นำเสนอองค์ความรู้และแนวทางนวัตกรรมการจัดการน้ำที่พัฒนาโดยนักวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้พิสูจน์ประสิทธิภาพในการรับมือกับสภาวะสุดขั้วทางภูมิอากาศของประเทศไทย การประชุมดังกล่าวยังรวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานสำคัญหลายภาคส่วน อาทิ สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า

ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา Read More »

ปฏิวัติการศึกษาไทยด้วย PLO-CLO สำนักบริการวิชาการ มข. จัด Workshop พัฒนาหลักสูตรมุ่งเน้นผลลัพธ์ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่

         มหาวิทยาลัยขอนแก่นยกระดับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาสู่มาตรฐานสากล ด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและรายวิชา” ปลดล็อกศักยภาพคณาจารย์ในการออกแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ผู้เรียนและตลาดแรงงานยุคใหม่            สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผนึกกำลังจัดอบรมหลักสูตร “การจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) และผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (CLO)” ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมเจิมขวัญ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภาวดี ภักดี และ ผศ.ดร.สุกัญญา เรืองสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้จริง ✨          Workshop สุดเข้มข้น จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร เข้าใจถึงการออกแบบหลักสูตรตามแนวคิด Outcome-Based Education (OBE) ผ่านเนื้อหาสำคัญที่เข้มข้น พร้อม Workshop ปฏิบัติจริง ได้แก่: วิเคราะห์มาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) และแนวทางการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ (Backward Curriculum

ปฏิวัติการศึกษาไทยด้วย PLO-CLO สำนักบริการวิชาการ มข. จัด Workshop พัฒนาหลักสูตรมุ่งเน้นผลลัพธ์ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่ Read More »

ป้องกันคดีละเมิด! สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมเข้มการตรวจรับพัสดุภาครัฐ

        สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Upskill บุคลากรภาครัฐ จัดหลักสูตรอบรมเชิงลึก “การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุอย่างไร ให้ห่างไกลคดีความรับผิดทางละเมิด” รวบรวมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มอบองค์ความรู้เข้มข้นแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐหลากหลายองค์กร ทั้งจากกรมทรัพยากรน้ำ กรมการแพทย์ทหารเรือ โรงพยาบาล สถานศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล          หลักสูตรนี้ครอบคลุมทุกแง่มุมของกระบวนการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตั้งแต่การทำสัญญา การคำนวณค่าปรับ การแก้ไขสัญญา ไปจนถึงการบอกเลิกสัญญา โดยไม่เพียงแค่สอนให้ทำงานถูกระเบียบ แต่ยังชี้ให้เห็นจุดเสี่ยงที่มักนำไปสู่คดีความทางละเมิด พร้อมวิธีป้องกันตนเองอย่างเป็นระบบ ระดมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์โดยตรง ประกอบด้วย: อาจารย์อิทธิพร จิระพัฒนากุล อดีตอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นประจำศาลปกครองสูงสุด อาจารย์ธนพล โกมารกุล ณ นคร รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อาจารย์ณัฐชนน ศิริพงษ์สุรภา ผู้อำนวยการสำนักบริหารคดีและนิติการ สำนักงาน กสทช. กรณีศึกษาจริง: เรียนรู้จากบทเรียนที่มีค่า

ป้องกันคดีละเมิด! สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมเข้มการตรวจรับพัสดุภาครัฐ Read More »

มข. ร่วมปิดฉากโครงการ HigherEd for PWD เฟสแรกอย่างยิ่งใหญ่

         เมื่อวันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ พร้อมด้วย รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายวิชาการ บุคลากรสำนักฯ และ ตัวแทนคนพิการจากกลุ่มคนพิการเทศบาลตำบลศิลา เข้าร่วมพิธีปิดโครงการ “การขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ” (HigherEd for PWD) ระยะที่ 1 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 3 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) มจธ. ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ       ในงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานพิธีปิดโครงการ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยเครือข่ายอีก 5 แห่งได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (วิทยาเขตสุพรรณบุรี)

มข. ร่วมปิดฉากโครงการ HigherEd for PWD เฟสแรกอย่างยิ่งใหญ่ Read More »

“ยกระดับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่” สำนักบริการวิชาการ มข. จับมือ สสจ.น่าน จัดหลักสูตร Upskill สมรรถนะการบริหารที่จำเป็น

         สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “พัฒนาสมรรถนะทางการบริหารการพยาบาลที่จำเป็น” สำหรับบุคลากรทางการพยาบาลที่มีศักยภาพและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน กลุ่มงาน ผู้ช่วยหัวหน้างาน โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2568 ใน 2 พื้นที่ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.รัชตวรรณ ศรีตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการพยาบาล วิทยากรอิสระ โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ เน้น 3 ทักษะสำคัญได้แก่ ทักษะการกำหนดนโยบายและการสื่อสารทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ทักษะการวิเคราะห์ตนเองและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการวางแผนและบริหารงานคุณภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหารจัดการองค์กรพยาบาลในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ไม่เพียงแต่การบรรยายเชิงทฤษฎี แต่ยังเน้นการฝึกปฏิบัติผ่าน Workshop และการจำลองสถานการณ์จริงแบบ Live Streaming การบริหารงานที่มีคุณภาพในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนทักษะและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน           นายจงจิต ปินศิริ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน ประธานในพิธี ได้กล่าวว่า  “การอบรมครั้งนี้ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของระบบสาธารณสุข เพื่อให้มีผู้บริหารการพยาบาลที่มีวิสัยทัศน์ มีทักษะการสื่อสารที่ดี และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขับเคลื่อนคุณภาพบริการพยาบาลในจังหวัดน่านให้ก้าวหน้าต่อไป” วันสุดท้ายของการอบรมจะมีกิจกรรมพิเศษในการคัดเลือกและมอบรางวัลขวัญใจ Successor

“ยกระดับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่” สำนักบริการวิชาการ มข. จับมือ สสจ.น่าน จัดหลักสูตร Upskill สมรรถนะการบริหารที่จำเป็น Read More »

มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง”

   มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสำนักบริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดโครงการ “สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย” ที่ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร โดยการแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มักถูกเผาทิ้งในไร่ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า จากปัญหาสู่นวัตกรรม: แนวคิดพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน        รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการนี้ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายนวัตกรรมและสังคมยั่งยืนของมหาวิทยาลัย และได้รับความร่วมมือจากเครือมิตรผล (โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง) ในการเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเข้าร่วมโครงการ “นอกเหนือจากการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร โครงการนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาอ้อยก่อนการตัดขาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ PM 2.5 เกษตรกรจะได้เห็นความสำคัญของการไม่เผาและนำเอาใบอ้อยมาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นถ่านอัดแท่งที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้งานได้นานและไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม” รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กล่าวเพิ่มเติม “เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยทีมวิจัยมืออาชีพ”           รศ.ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งจากเถ้าชานอ้อยและใบอ้อย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยมีความเชี่ยวชาญด้านถ่านอัดแท่งมากว่า 18 ปี โดยเคยพัฒนาถ่านอัดแท่งจากเหง้ามันสำปะหลังและเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งในสวนมาก่อน “ปัจจุบันมีกระแสการลดการเผาใบอ้อย ทีมของเราจึงมองเห็นศักยภาพของใบอ้อยที่มีค่าความร้อนเหมาะสมสำหรับแปรสภาพเป็นถ่านอัดแท่งใช้ในครัวเรือน หรือใช้ให้ความร้อนในเชิงพาณิชย์ รวมถึงพัฒนาเป็นถ่านชีวภาพ (Biochar) สำหรับการปรับปรุงดิน” รศ.ดร.กิตติพงษ์ อธิบาย กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  

มข. ชู “นวัตกรรมสีเขียว: ‘ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อย’ ทางเลือกใหม่สำหรับชุมชนเกษตรกร ช่วยลดการเผาในที่โล่ง” Read More »

ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น x มข.: เดินหน้ายกระดับข้าวพองไทย “ข้าวฮัก (Khao Hug)” สร้างรายได้ยั่งยืน

              สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ธนาคารออมสิน และ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ผนึกกำลังขับเคลื่อนโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 พัฒนาความรู้ เสริมภูมิปัญญา สร้างคุณค่าเศรษฐกิจชุมชน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 โดยทีม “ให้ข้าวเล่าชีวิต” นำโดย ผศ.ดร.ปรวรรณ เสนาไชย อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พร้อมด้วยทีมที่ปรึกษา ประกอบไปด้วย นางสาวนิภาพรรณ ชัยเดชทยากุล , นางสาววรรณวิษาธนาจินตวิทย์ และนักศึกษา ลงพื้นที่วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและหาความต้องการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวอินทรีย์เป็นสุขนาโก จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวพองอบกรอบจากข้าวอินทรีย์คุณภาพสูงที่ปลูกในพื้นที่ของกลุ่มเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต           ซึ่งกิจกรรมการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและหาความต้องการในครั้งนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นชุมชน จัด Workshop เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และวางแผนในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจในการทำขนมอบกรอบข้าวพอง เช่น รสชาติที่ต้องการ ขนาดบรรจุ หรือการเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวพองอบกรอบ 💻พร้อมสำรวจตลาดและคู่แข่ง ศึกษาผลิตภัณฑ์ข้าวพองอบกรอบที่มีในตลาด และตรวจสอบว่าแบรนด์หรือกลุ่มใดที่มีผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกัน พร้อมทั้งความนิยมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ และหาข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายที่กลุ่มวิสาหกิจสามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดได้ เช่น

ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น x มข.: เดินหน้ายกระดับข้าวพองไทย “ข้าวฮัก (Khao Hug)” สร้างรายได้ยั่งยืน Read More »

“มข.เสริมแกร่งนักวิชาการ Upskill เทคนิคเขียนบทความระดับสากล พร้อมเปิดมิติใหม่ประยุกต์ใช้ AI”

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยกระดับมาตรฐานงานวิชาการสู่เวทีโลก จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่” โดยสำนักบริการวิชาการ และ คณะแพทยศาสตร์ ณ โรงแรมบายาสิตา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568   ศ.สพ.ญ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคเชิงลึกในการเขียนบทความวิชาการให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมเปิดมิติใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิชาการ “การอบรมครั้งนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นทฤษฎีการเขียน แต่ยังผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานวิชาการ ทั้งการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การทบทวนภาษา และการค้นหาเครือข่ายนักวิจัย” ศ.สพ.ญ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าว ไฮไลท์สำคัญของการอบรมครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเขียน 10 ขั้นตอนสู่การตีพิมพ์ จริยธรรมการวิจัย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเวิร์คช็อปภาคปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เครื่องมือจริง ทั้งนี้ ทีมงานภาคสนามประจำหลักสูตร  ได้แก่ – นางรชตวรรณ พรมภักดี นักวิชาการศึกษาชำนาญการ –  นายณัฐพล หีบแก้ว นักวิชาการศึกษา –  นายภาคิน ริวพงษ์กุล นักวิชาการศึกษา –  นายฐกฤต อนุพล นักวิชาการศึกษา สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางรชตวรรณ

“มข.เสริมแกร่งนักวิชาการ Upskill เทคนิคเขียนบทความระดับสากล พร้อมเปิดมิติใหม่ประยุกต์ใช้ AI” Read More »

สำนักบริการวิชาการ มข. “จัดอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รุ่นที่ 14” พัฒนาทักษะด้านการเจรจา พร้อมขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ

         สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมหลักสูตร “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” รุ่นที่ 14 ระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจาก 15 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงทนายความและผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว           การอบรมนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น , ท่านไพโรจน์ มินเด็น ตุลาการศาลปกครองสูงสุด , ดร.ธปภัค บูรณสิงห์ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาทกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม และอาจารย์สุจินันท์ หรสิทธิ์ เนื้อหาการอบรมครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น นโยบายการจัดการความขัดแย้ง การดำเนินกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย การจัดการกับบุคคลและสถานการณ์ที่ยากลำบาก และการฝึกทักษะการสื่อสารเกี่ยวกับกรณีขัดแย้งในสังคมไทย       ผู้เข้าอบรมจะได้ศึกษาดูงาน ณ ศาลแพ่ง

สำนักบริการวิชาการ มข. “จัดอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รุ่นที่ 14” พัฒนาทักษะด้านการเจรจา พร้อมขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ Read More »

เลื่อนไปด้านบน